การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้
บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
|
||
|
Panisea (Lindl.) Steud., Nomenclator Botanicus 2 ed. 2: 265 (1841); Lindl., Fol. Orch. Pan.: i (1854); Benth. & Hook. f., Gen. Pl. 3: 507 (1833).- Coelogyne sect. Panisea Lindl., Gen. Sp. Orchid. Pl.: 44 (1830). กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตแบบแตกกอ ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีขนาดเล็ก ใบบางแคบ มี 1 ใบหรือ 2 ใบ ซ้อนทับกัน ช่อดอกออกที่ตาข้างใกล้ฐานของลำลูกกล้วย ดอกมักมีสีขาว หรือเขียวแกมเหลือง ดอกขนาดเล็ก มี 1 หรือ 2 - 3 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนาดใกล้เคียงกัน แคบและกางออกเล็กน้อย กลีบเลี้ยงอันบนยาวได้ถึง 2 ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีโคนเป็นแอ่งเล็กน้อย กลีบปากบาง ยาวเท่า ๆ กับกลีบเลี้ยง โคนกลีบมักมีก้านซึ่งเชื่อมติดกับฐานของเส้าเกสร กลีบปากมีเส้นแขนงหลายเส้น แต่เห็นชัดเจนตามยาว 3 เส้น ก้านเรณูมี 4 ก้อน Panisea uniflora (Lindl.) Lindl., Fol. Orch. Pan.: (1854); A. F. G. Kerr, J. Siam Soc. Nat. Hist. Suppl. 9(2) : 237 (1933); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 2: 134, fig. 102, pl. IV (1959); Cumberlege, Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 20(3): 161 (1963); Seidenf. in Opera Botanica 89: 88, fig. 47, pl. VId (1986); 114: 106 (1992).- Coelogyne uniflora Lindl., Wall. Cat. no. 1966 (1829) nom. nud.; Gen. Sp. Orchid. Pl.: 42 (1830).- C. biflora Par. ex Rchb. f., Gard. Chron.: 1035 (1865).- Chelonistele biflora (Par. ex Rchb. f.) Pfitzer, Pflanzenr. 32: 139 (1907).
ประเทศไทย.- เหนือ: เชียงใหม่ (ดอยสุเทพ ดอยสะเก็ด ดอยอินทนนท์) ตาก (แม่สอด อุ้มผาง) พิษณุโลก (ทุ่งแสลงหลวง); ตะวันออกเฉียงใต้: ตราด (เกาะช้าง); ใต้: นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) การกระจายพันธุ์.- เนปาล สิกขิม ภูฐาน อินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย นิเวศวิทยา.- พบน้อยบนต้นไม้บริเวณริมหน้าผาที่มีลมพัด บริเวณเขาขวามือสุดแผ่นดิน ออกดอกเดือนเมษายน - พฤษภาคม ชื่อพื้นเมือง.- เอื้องรงรอง |