การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้
บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
|
||
|
Lour., Fl. Cochinch. 2: 525 (1790); Benth. & Hook. f., Gen. Pl. 3: 576 (1883). กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด (monopodial) มีรากหนา (stout) จำนวนมาก ลำต้น (stem) ยาว มีใบจำนวนมาก เรียงเป็น 2 แถว ฐ่านใบแผ่เป็นกาบ ใบอ่อนพับกลางตามยาว ใบแก่แผ่กว้าง ร่วงเมื่อแก่ ช่อดอกมักเกิดที่ซอกใบด้านข้าง เป็นช่อกระจะ (raceme) เดี่ยว หรือช่อกระจะแยกแขนง (racemose panicle) ดอกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มักมีกลิ่นและมีสีสะดุดตา กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายกัน มักกางออก (spreading) กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีฐานแผ่เป็นครีบติดกับฐานของเส้าเกสร (columnfoot) กลีบปากมี 3 แฉก มีเดือยที่ฐานซึ่งมักชี้ไปด้านหน้า มักมีก้อนนูนอยู่ภายใน ส่วนโคนของกลีบปากยึดติดแน่นกับโคนของเส้าเกสร ก้อนเรณู 2 ก้อน แต่ละก้อนมีร่อง (cleft) ก้านกลุ่มเรณูแคบยาว Aerides houlettiana Rchb. f., Gard. Chron.: 1194 (1872); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 4: 554, fig. 412 (1962); Seidenf. in Opera Botanica 95: 246, fig. 154, pl. XXVIIa (1988); 114: 428, pl. XXXb (1992).
ประเทศไทย.- ตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย (นาน้อย) ขอนแก่น (ท่าพระ พล) นครราชสีมา การกระจายพันธุ์.- ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม นิเวศวิทยา.- พบน้อยบริเวณหน้าผาบนเขา บริเวรจุดสูงสุดทางขวามือของสุดแผ่นดิน ออกดอกและผลระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน ชื่อพื้นเมือง.- กุหลาบเหลืองโคราช |