การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
(Taxonomic Study on Orchidaceae in the Pa-Hin-Ngam National Park, Changwat Chaiyaphum)


รายชื่อกล้วยไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
(List of orchids found in the Pa-Hin-Ngam
National Park)

  • Acriopsis indica Wight นมหนู
  • Aerides houlettiana Rchb. f. กุหลาบเหลืองโคราช
  • Bromheadia aporoides Rchb. f. เอื้องจำปา
  • Bulbophyllum affine Lindl. สิงโตงาม สิงโตประหลาด
  • Bulbophyllum blepharistes Rchb. f. สิงโตกลอกตา สิงโตสมอหิน
  • Bulbophyllum lemniscatoides Rolf สิงโตขนตาแดง
  • Bulbophyllum lepidum (Blume) J. J. Sm สิงโตพัดแดง
  • Bulbophyllum parviflorum Par. & Rchb. f. สิงโตรวงข้าวน้อย
  • Bulbophyllum propinquum Kraetzl เอื้องกีบม้าขาว
  • Cleisostoma simondii (Gagnep.) Seidenf. เอื้องสร้อยทับทิม
  • Coelogyne brachyptera Rchb. f. เอื้องเทียน เอื้องลำเทียนปากดำ
  • Coelogyne cumingii Lindl. เอื้องมัน
  • Coelogyne trinervis Lindl. เอื้องหมาก
  • Cymbidium aloifolium (L.) Sw. กะเรกะร่อน
  • Dendrobium compactum Rolfe ex W. Hackett เอื้องข้าวตอก
  • Dendrobium draconis Rchb. f. เอื้องเงิน เอื้องตึง 
  • Dendrobium ellipsophyllum Tang & Wang เอื้องทอง 
  • Dendrobium signatum Rchb. f.เอื้องคำกิ่วเอื้องตีนนกเอื้องตีนเป็ด 
  • Dendrobium unicum Seidenf. เอื้องครั่งแสด เอื้องสายสีแสด 
  • Doritis pulcherrima Lindl. ม้าวิ่ง 
  • Eria dasypus Rchb. f. เอื้องลำอ้วนดอกขน 
  • Eria pubescens (Hook.) Steud. เอื้องคำหิน 
  • Eulophia macrobulbon (Par. & Rchb. f.) Hook. f. ว่านอึ่ง 
  • Eulophia spectabilis (Dennst.) Suresh. ว่านหัวครู ว่านดิน 
  • Habenaria dentata (Sw.) Schltr. นางอั้วน้อย เอื้องข้าวตอก 
  • Habenaria humistrata Rolfe ex Downie ตูบหมูบมดลิ่น
  • Habenaria rhodocheila Hance ปัดแดง สังหิน
  • Luisia curtisii Seidenf. ขอซิง 
  • Panisea uniflora (Lindl.) Lindl. เอื้องรงรอง 
  • Pecteilis susannae (L.) Raf. นางอั้ว เอื้องตีนกบ นางกราย 
  • Peristylus lacertiferus (Lindl.) J. J. Sm. อั้วจิ๋วหนวดงาม 
  • Pholidota recurva Lindl. เอื้องเหลี่ยมลำต่อ เอื้องข้อต่อ 
  • Polystachya concreta (Jacq.) Garay & Sweet. เอื้องคางอ้ม 
  • Spathoglottis affinis de Vriese หัวข้าวเหนียว 
  • Tainia angustifolia (Lindl.) Benth. & Hook. f. เอื้องสีลา 
  • Thrixspermum centipeda Lour.เอื้องกลีบผอมตะขาบเหลืองตีนตะขาบ 
  • Trichotosia dasyphylla (Par. & Rchb. f.) Kraetzl เอื้องเบี้ยไม้ใบขน สามก้อม 

 


Cleisostoma

Blume Bijdr.: 362 (1825); Benth. & Hook. f., Gen. Pl. 3: 580 (1883).

กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด ลำต้นตั้งขึ้นหรือห้อยลง ใบกลมหรือแบน ช่อดอกออกจากตาข้างบริเวณข้อของลำต้น ช่อตั้งหรือห้อยลง เป็นช่อแบนกระจะ หรือแยกแขนง  ดอกมีขนาดเล็ก จำนวนมาก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมักแผ่กางออก กลีบปากมี 3 แฉก ฐานยืดตัวไปข้างหลังเป็นเดือย (spur) ผนังด้านหน้าและหลังของเดือยมีก้อนนูนยื่นออกมา บริเวณกลางเดือยมีผนังกั้นตามยาว แบ่งเดือยเป็น 2 ห้อง หรือผนังกั้นลดขนาดลงเป็นสันแคบ ๆ แฉกกลางของกลีบปากมีปลายเป็นรูปหัวลูกศร แฉกข้างมีปลายเป็นรูปสามเหลี่ยมตั้งขึ้น ขอบด้านหลังของแฉกข้างติดกับฐานของเส้าเกสร เส้าเกสรสั้น ก้อนเรณูมี 4 ก้อน อยู่เป็นคู่ ๆ ละ 2 ก้อน 

Cleisostoma simondii (Gagnep.) Seidenf. in Dansk Bot. Arkiv bd. 29(3): 66. fig. 30 (1975); Opera Botanisa 114: 395, fig. 265, pl. XXVIIIb (1992).- Vanda simondii Gagnep. in Bull. Mus. Paris 2. s. 22(5): 628 (1950).- V. teretifolia Lindl., Coll. Bot.: t. 6 (1821).- Sarcanthus teretifolius (Lindl.) Lindl., Gen. Sp. Orchid. Pl.: 324 (1835). - S. siamensis Rolfe ex Downie in Bull. Misc. Inform. Kew 1925: 405 (1925); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 4: 687, fig. 511, pl. XXX (1964).- Luisia acutilabris Guillaumin in Bull. Mus. Paris 2. s. 32(3): 188 (1960).- C. acutilabris (Guillaumin) Averyanov in Bot. Journ. (Leningr.) 73(1): 107 (1988).

กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นตั้งขึ้น หนาประมาณ 5 มม. ตามลำต้นมีรากอากาศ  ใบกลม ยาว 6 - 10 ซม. หนา 4 - 5 มม. ใบเรียงชิดกันแบบเวียนสลับ  ช่อดอกแบบช่อกระจะ ตั้งขึ้น ปลายช่อโค้งหรือห้อยลง ก้านช่อดอกยาว 8 - 10 ซม. หนา 1.5 - 2 มมดอกบานกว้าง 1.8 - 2 ซม. ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1 ซม. หนาประมาณ 1.5 มม. ใบประดับที่ก้านดอกย่อยมีขนาดเล็ก แนบติดกับก้านดอกย่อย กลีบเลี้ยงอันบนรูปขอบขนาน ขนาด 7 - 8 x 3 - 3.5 มม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ขนาด 8 x 3.5 มม. กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรี ขนาด 7 x 3 มม. ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว มีแถบสีเขียวเข้ม กลีบปากสีม่วงอ่อน แฉกกลางรูปหัวลูกศร ฐานกว้างประมาณ 5 มม. แฉกข้างปลายแหลมชี้ขึ้น เดือยมีสีเขียว ก้อนนูนที่ผนังด้านหลังของเดือย (backwall callus) มีสีเหลือง ด้านล่างเป็น 2 แฉก มีขนที่ปลาย เส้าเกสรสั้น สีเหลืองแกมเขียว ฐานมีขน ก้านก้อนเรณูมีฐานกว้าง ผลไม่พบ

ประเทศไทย.- เหนือ: เชียงใหม่ (ฝาง อมก๋อย เชียงดาว แม่แตง แม่ตื่น) แม่ฮ่องสอน (ปางมะผ้า) พะเยา พิษณุโลก (ทุ่งแสลงหลวง); ตะวันออกเฉียงเหนือ: เลย (ภูกระดึง ด่านซ้าย); ตะวันออก: ชัยภูมิ (ป่าหินงาม); ตะวันตกเฉียงใต้: กาญจนบุรี (ศรีสวัสดิ์); ใต้: สุราษฎร์ธานี

การกระจายพันธุ์.- อินเดีย (สิกขิม) พม่า ไทย ลาว เวียดนาม จีน

นิเวศวิทยา.- บนกิ่งไม้สูง ๆ บริเวณหน้าผาสุดแผ่นดิน ออกดอกเดือนตุลาคม - ธันวาคม

ชื่อพื้นเมือง.-  เอื้องสร้อยทับทิม