การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้
บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
|
||
|
Lindl., Gen. Sp. Orchid. Pl.: 178. (1833); Benth. & Hook.f., Gen. Pl. 3: 574 (1965). กล้วยไม้ดินหรือขึ้นบนก้อนหิน เจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด ลำต้นสั้น ใบขนาดใหญ่ หนาและอวบน้ำ ช่อดอกยาว แบบช่อกระจะ มีดอกหลายดอก ฐานเส้าเกสรยาว มีฐานกลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมติดกันตลอดความยาว ความยาวของฐานเส้าเกสรกับตัวเส้าเกสรเท่า ๆ กัน กลีบปาก 3 แฉก ขนาดเท่า ๆ กัน แฉกกลางมีสัน 3 สัน สันตรงกลางอาจไม่พัฒนา ทำให้เห็นเป็น 2 สัน โคนกลีบปากสอบแคบเป็นก้านสั้น ๆ เชื่อมติดกับส่วนล่างสุดของฐานเส้าเกสร มีรยางค์ขนาดเล็ก แคบและแบน 2 อัน ติดอยู่ที่โคนกลีบปาก เหนือรยางค์ขึ้นมามีก้อนนูนขนาดเล็ก ปลายแหลม เส้าเกสรมีจงอยยาว ก้อนเรณูค่อนข้างกลม 4 ก้อน แยกจากกัน ก้านชูอับเรณูยาว Doritis pulcherrima Lindl., Gen. Sp. Orchid. Pl.: 178 (1833); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 4: 540, fig. 402, pl. 22 (1962); Seidenf. in Opera Botanica 95: 31, fig. 16, pl. IIc (1988); 114: 354 (1992); Seidenf. & Wood, Orch. Pen. Mal. & Sing.: 585, figs. 265a-f, pl. 40c (1992).- Phalaenopsis esmeralda Rchb. f., Gard. Chron.: 582 (1874).- P. antennifera Rchb. f., Gard. Chron.: 398 (1879).- P. buyssoniaana Rchb. f., Gard. Chron. 2: 295 (1888).- P. pulcherrima (Lindl.) J. J. Sm. in Fedde, Repert. 32: 366 (1933); Holttum, Rev. Fl. Malaya 1: 671, fig. 205 (1957).
ประเทศไทย.- เหนือ: เชียงใหม่ (ดอยสุเทพ) พิษณุโลก (ภูหินร่องกล้า); ตะวันออกเฉียงเหนือ: เลย (ภูกระดึง) หนองบัวลำภู อุดรธานี; ตะวันออก: อุบลราชธานี (ช่องเม็ก ผาแต้ม) ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา (เขาใหญ่) ชัยภูมิ (ป่าหินงาม); ตะวันตกเฉียงใต้: ประจวบคีรีขันธ์ (ห้วยยาง สามร้อยยอด) ; ตะวันออกเฉียงใต้: ปราจีนบุรี สระแก้ว (อรัญประเทศ) ตราด; ใต้: ชุมพร (ท่าตะโก) สงขลา (เขาเขียว โตนงาช้าง) สตูล ปัตตานี การกระจายพันธุ์.- อินเดียตอนเหนือ พม่า จีน ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย นิเวศวิทยา.- พบมากบนก้อนหินในที่ค่อนข้างโล่ง ออกดอกและผลระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม ชื่อพื้นเมือง.- ม้าวิ่ง |