การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้
บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
|
||
|
Gaudich., Freyc. Voy. Bot.: 426, t. 37 (1826); Benth. & Hook. f., Gen. Pl. 3: 571 (1833). กล้วยไม้อิงอาศัย หรือขึ้นบนก้อนหิน เจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด ลำต้นยาว ใบกลมยาว เรียงห่าง ๆ กัน ช่อดอกสั้น ก้านช่อดอกหนา ดอกเรียงกันค่อนข้างแน่น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกจากกัน มีขนาดเท่ากัน หรือกลีบดอกแคบและยาวกว่า กลีบปากติดอยู่ที่ฐานเส้าเกสร อวบน้ำ มีร่องตามขวางแบ่งกลีบปากเป็น 2 ส่วน คือส่วนบนและส่วนล่างชัดเจน ส่วนล่างแบนหรือเว้าโค้ง อาจมีแฉกข้างชัดเจน ส่วนบนมักมีขนาดใหญ่และกว้างกว่า มักย่นหรือเป็นร่องตามยาว ขอบเรียบหรือหยักมน เส้าเกสรสั้น ก้อนเรณูมี 2 ก้อน ก้านก้อนเรณูสั้น มีฐานกว้าง Luisia curtisii Seidenf. in Bot. Tidsskr. 68: 83 (1973); Seidenf. in Opera Botanica 95: 276, fig. 177, pl. XXXIb (1988); 114: 436 (1992); Seidenf. & Wood, Orch. Pen. Mal. & Sing.: 687, figs. 308c-d (1992).- L. tristis (non Hook. f.) Seidenf. in Dansk Bot. Arkiv 27(4): 50, fig. 25 (1971).- L. jonesii (non J. J. Sm.) Holttum Rev. Fl. Malaya 1: 695, fig. 213 (1957), pro parte.- L. psyche (non Rchb. f.) Guillaumin Bull. Mus. Paris 2. s. 32: 369 (1960).
ประเทศไทย.- เหนือ: พิษณุโลก (ภูเมี่ยง); ตะวันออกเฉียงเหนือ: เลย (ภูกระดึง); ตะวันออก: ชัยภูมิ (ป่าหินงาม); ตะวันตกเฉียงใต้: กาญจนบุรี; ใต้: พังงา กระบี่ (อ่าวลึก) สตูล (ตะรุเตา) การกระจายพันธุ์.- เวียดนาม ไทย มาเลเซีย บอร์เนียว และฟิลิปปินส์ นิเวศวิทยา.- พบน้อยบนต้นไม้ในที่มีแสงมากบริเวณหินงาม ออกดอกและผลระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน ชื่อพื้นเมือง.- ขอซิง |