การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้
บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
|
||
|
Thouars, Orch. Iles. Afr. tab. esp. 3 et Ic. t. 93 ad 97 et 99 ad 110 (1822); Benth. & Hook. f., Gen. Pl. 3: 501 (1883). กล้วยไม้อิงอาศัยหรือขึ้นตามก้อนหิน (lithophyte) เจริญเติบโตแบบแตกกอ เหง้า (rhizome) เลื้อย ลำลูกกล้วยอยู่ชิดกัน หรือกระจายห่าง ๆ แต่ละลำมี 1 ข้อ ลำลูกกล้วยมีใบ 1-2 ใบ เกิดที่ปลายยอด ช่อดอกเกิดจากตาข้างใกล้ฐานของลำลูกกล้วย ดอกมีหนึ่งหรือหลายดอก กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีขอบของกลีบแยก หรือแนบชิดกัน ความยาวกลีบมากกว่ากลีบเลี้ยงอันบนเล็กน้อย ฐานของกลีบเลี้ยงคู่ข้างแนบติดกับฐานเส้าเกสร เกิดเป็นเดือย (mentum) สั้น ๆ กลีบดอกมีขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง กลีบปากมีรูปร่างคล้ายลิ้น อวบน้ำ ยึดติดกับปลายฐานของเส้าเกสร เคลื่อนไหวได้ แฉกข้างมีขนาดเล็กติดอยู่ใกล้ฐานกลีบปาก หรือไม่พัฒนา เส้าเกสรมีรยางค์หรือปีกเด่นชัดที่ปลาย ก้อนเรณู 4 ก้อน ไม่มีก้านก้อนเรณู รูปวิธานแยกชนิด 1. ปลายลำลูกกล้วยมีใบ 2 ใบ พบใบระหว่างออกดอก 2. B. blepharistes 1. ปลายลำลูกกล้วยมีใบ 1 ใบ หรือไม่พบใบระหว่างออกดอก 2. ช่อดอกแบบซี่ร่ม (umbel) ดอกที่ปลายช่อแผ่เรียงอยู่ในระนาบเดียวกันเกือบขนานกับพื้นราบ กลีบเลี้ยงคู่ข้างบางกว่ากลีบเลี้ยงอันบนมาก ขอบด้านบนเชื่อมติดกันเกือบตลอดความยาว ดอกสีน้ำตาลแดง 4. B. lepidum 2. ดอกเป็นดอกเดี่ยว หรือออกเป็นช่อแบบกระจะ (raceme) โดยมีดอกเรียงสลับไปตามแกน ของช่อดอกซึ่งตั้งขึ้นหรือห้อยลง กลีบเลี้ยงคู่ข้างแยกจากกัน หรือเชื่อมกันเฉพาะที่ปลาย 3. ดอกเป็นดอกเดี่ยว 1. B. affine 3. ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะ 4. แกนช่อดอกห้อยลง กลีบเลี้ยงคู่ข้างแยกจากกัน ที่ปลายกลีบเลี้ยงทั้งสามมีรยางค์รูป ทรงกระบอก เคลื่อนไหวได้ ดอกสีม่วงแดง 3. B. lemniscatoides 4. แกนช่อดอกตั้งขึ้น กลีบเลี้ยงคู่ข้างแยกกัน หรือเชื่อมกันเฉพาะที่ปลาย ปลายกลีบเลี้ยง ไม่มีรยางค์ 5. กลีบเลี้ยงคู่ข้างแยกจากกัน ขอบด้านล่างมีขน กลีบปากไม่มีแฉกข้างที่ใกล้ฐาน ขอบกลีบดอกมีขน ดอกสีขาว 5. B. parviflorum 5. กลีบเลี้ยงเชื่อมกันที่ปลาย ขอบด้านล่างไม่มีขน กลีบปากมีแฉกข้างที่ใกล้ฐาน ขอบกลีบดอกไม่มีขน ดอกสีม่วงแดง 6. B. propinquum 1. Bulbophyllum affine Lindl., Gen. Sp. Orchid. Pl.: 48 (1830); Hook. f. in Fl. Brit. India 6: 756 (1890); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 3: 378, fig. 285 (1961); Seidenf. in Dansk Bot. Arkiv bd. 33: 18, fig. 3 (1979); Opera Botanica 114: 307 (1992).
ประเทศไทย.- เหนือ:
เชียงใหม่ (ดอยสุเทพ อมก๋อย ดอยอินทนนท์); ตะวันออกเฉียงเหนือ: เลย (ภูกระดึง)
ขอนแก่น (ภูเวียง) เพชรบูรณ์ (น้ำหนาว); ตะวันออก: ชัยภูมิ การกระจายพันธุ์.- เนปาล อินเดีย ภูฐาน จีน ลาว ไทย และเวียดนาม นิเวศวิทยา.- ขึ้นตามต้นไม้ในที่ค่อนข้างชื้นริมลำธารทางขึ้นสู่สุดแผ่นดิน ออกดอกและผลระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม ชื่อพื้นเมือง.- สิงโตงาม สิงโตประหลาด 2. Bulbophyllum blepharistes Rchb. f., Flora 55: 278 (1872); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 3: 364, fig. 273, pl. XV (1961); Seidenf. in Dansk Bot. Arkiv bd. 33: 196, fig. 143 (1979); Seidenf. & Wood, Orch. Pen. Mal. & Sing.: 432, fig. 196 (1992); Seidenf. in Opera Botanica 114: 263 (1992).- Cirrhopetalum longescapum Teijsm. & Binnend., Nat. Tijdschr. Ned. Ind. 24: 310 (1862).- C. spicatum Gagnep. in Bull. Mus. Paris 2. s. 22(3): 402 (1950).- B. malayanum J. J. Sm. in Bull. Buitenz. 2. s. 8: 25 (1912).
ประเทศไทย.- เหนือ: แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ (ฝาง ดอยสุเทพ ดอยขุนห้วยปง) พิษณุโลก (ทุ่งแสลงหลวง); ตะวันออกเฉียงเหนือ: เลย (ภูกระดึง); ตะวันออก: ชัยภูมิ (ป่าหินงาม); ใต้: ระนอง (เขาพระหมี) การกระจายพันธุ์.- อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย นิเวศวิทยา.- พบน้อย ขึ้นบนก้อนหินในที่ร่มในป่าเต็งรังบริเวณหินงาม ออกดอกเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ชื่อพื้นเมือง.- สิงโตกลอกตา สิงโตสมอหิน 3. Bulbophyllum lemniscatoides Rolfe, Gard. Chron. 1: 672 (1890); Back. & Bakh. f., Fl. Java 3: 381 (1968); Seidenf. in Dansk Bot. Arkiv bd. 33(3): 203 (1979); Seidenf. in Opera Botanica 114: 263 (1992).
ประเทศไทย.- ตะวันออก: ชัยภูมิ (ป่าหินงาม เป็นครั้งแรกที่มีรายงานการพบเหนือภาคใต้); ใต้: ระนอง (เขาพระหมี) ตรัง (เขาช่อง) การกระจายพันธุ์.- เวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย นิเวศวิทยา.- พบน้อย บริเวณริมหน้าผาสุดแผ่นดิน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ชื่อพื้นเมือง.- สิงโตขนตาแดง 4. Bulbophyllum lepidum (Blume) J. J. Sm., Fl. Buitenz. 6: 471, fig. 361 (1905); Holttum, Rev. Fl. Malaya 1: 415, figs. 121d-g (1957); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 3: 371, fig. 279, pl. XV (1961); Back. & Bakh. f., Fl. Java 3: 380 (1968); Seidenf. in Dansk Bot. Arkiv bd. 33(3): 157, fig. 105 (1979); Seidenf. & Wood, Orch. Pen. Mal. & Sing.: 441, fig. 199a-b (1992); Seidenf. in Opera Botanica 114: 279 (1992).- Ephippium lepidum Blume, Bijdr.: 310 (1825).- B. griffithianum Par. & Rchb.f. in Trans. Linn. Soc. 30: 153 (1874); Ridl., Fl. Malay Penins. 4: 80 (1924).- Cirrhopetalum siamense Rolfe ex Downie in Bull. Misc. Inform. Kew 1925: 375 (1925).- C. gagnepainii Guillaumin in Bull. Mus. Paris 2. S. 36(3): 379 (1964).
ประเทศไทย.- เหนือ: เชียงใหม่ (ดอยสุเทพ) ลำปาง; ตะวันออกเฉียงเหนือ: สกลนคร (ภูพาน); ตะวันออก: ชัยภูมิ (ป่าหินงาม ตาดโตน) ศรีสะเกษ (เขาพระวิหาร); ตะวันออกเฉียงใต้: จันทบุรี (เขาสระบาป มะขาม) ตราด (เกาะช้าง); ใต้: กระบี่ สุราษฎร์ธานี ระนอง (เขาพระหมี คลองนาคา) การกระจายพันธุ์.-
หมู่เกาะอันดามัน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา ไทย นิเวศวิทยา.- พบค่อนข้างมากบริเวณที่มีแสงแดดจัด ออกดอกและผลระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม ชื่อพื้นเมือง.- สิงโตพัดแดง 5. Bulbophyllum parviflorum Par. & Rchb. f. in Trans. Linn. Soc. 30: 152 (1874); Hook. f. in Fl. Brit. India 5: 763 (1890); Seidenf. in Dansk Bot. Arkiv bd. 33(3): 103, fig. 62 (1979).- Phyllorchis parviflora (Par. & Rchb.f.) Kuntze, Rev. Gen. 2: 667 (1891).
ประเทศไทย.- ตะวันออกเฉียงเหนือ: เพชรบูรณ์ (น้ำหนาว); ตะวันออก: ชัยภูมิ (ป่าหินงาม) การกระจายพันธุ์.- พม่า (เทือกเขาตะนาวศรี) ไทย นิเวศวิทยา.- พบบนต้นไม้เตี้ย ๆ หรือบนก้อนหิน บริเวณใกล้หน้าผาที่มีลมพัดแรงในป่าเต็งรัง ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 800 ม. ออกดอกและผลระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม ชื่อพื้นเมือง.- สิงโตรวงข้าวน้อย 6. Bulbophyllum propinquum Kraetzl, Orchis 2: 62 (1908); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 3: 432 (1961), pro parte; Seidenf. in Dansk Bot. Arkiv bd. 33: 123, fig. 81, pl. 4 (1979).- B. chlorostachys Schltr., Orchis 6: 66, t. 13 a (1912); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 3: 432 (1961), pro parte.
กล้วยไม้ขึ้นบนก้อนหิน เหง้าระหว่างลำลูกกล้วยหนาประมาณ 3 มม. ลำลูกกล้วย สีเขียวอ่อน รูปไข่ ขนาด 3 x 2.5-3 ซม. มักย่นและเป็นร่องตื้น ๆ โดยรอบ แต่ละลำห่างกัน 2 - 4 ซม. ใบ 1 ใบ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ขนาดใบ 9 - 10 x 2 - 3 ซม. ช่อดอกแบบกระจะ ดอกจำนวนมาก ค่อนข้างแน่น ก้านช่อดอกยาว 5 - 7 ซม. หนา 1.5 - 2 มม. โคนก้านช่อดอกมีกาบหุ้มซ้อนทับกันสูงขึ้นมา 2 - 3 ซม. ดอก สีม่วงแดง กลิ่นหอม ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 3 มม. ใบประดับย่อยยาวประมาณ 3 มม. กลีบเลี้ยงอันบนรูปไข่ ปลายมน ยาวประมาณ 5 มม. โคนกว้างประมาณ 4 มม. มีแถบสีม่วงแดงประมาณ 5 แถบ กลีบดอกรูปสามเหลี่ยม โคนเบี้ยว ขอบหยักไม่เป็นระเบียบ ด้านบนและด้านล่างสีขาว โคนกลีบสีน้ำตาล ตรงกลางมีเส้น vein 1 เส้น ความยาวกลีบ 2 มม. กลีบปากรูปขอบขนาน โค้ง ขนาด 5 x 3 มม. ด้านบนตรงกลางเป็นร่องตื้น ๆ มีสีเหลือง ด้านข้างเป็นสีน้ำตาล ด้านล่างตรงกลางเป็นร่องลึกยาวตลอดความยาวของกลีบปาก โคนกลีบปากด้านล่างสีเหลือง แฉกข้างตั้งขึ้น สีน้ำตาล ด้านหน้าหยักซี่ฟัน (dentate) เส้าเกสรสีขาวแกมเหลือง ขนาด 3 x 1.5 มม. ขอบสองข้างเป็นแถบสีม่วงแดง ฝาอับเรณูสีเหลือง ผลเป็นฝัก ขนาด 1 - 1.5 x 0.6 - 1 ซม. ประเทศไทย.- เหนือ:
เชียงใหม่ (ดอยสุเทพ ดอยสะเก็ด); ตะวันออก: ชัยภูมิ การกระจายพันธุ์.- ไทย นิเวศวิทยา.- ขึ้นตามก้อนหินบริเวณใกล้หน้าผาสุดแผ่นดิน ออกดอกและผลระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ชื่อพื้นเมือง.- เอื้องกีบม้าขาว |