การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
(Taxonomic Study on Orchidaceae in the Pa-Hin-Ngam National Park, Changwat Chaiyaphum)


รายชื่อกล้วยไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
(List of orchids found in the Pa-Hin-Ngam
National Park)

  • Acriopsis indica Wight นมหนู
  • Aerides houlettiana Rchb. f. กุหลาบเหลืองโคราช
  • Bromheadia aporoides Rchb. f. เอื้องจำปา
  • Bulbophyllum affine Lindl. สิงโตงาม สิงโตประหลาด
  • Bulbophyllum blepharistes Rchb. f. สิงโตกลอกตา สิงโตสมอหิน
  • Bulbophyllum lemniscatoides Rolf สิงโตขนตาแดง
  • Bulbophyllum lepidum (Blume) J. J. Sm สิงโตพัดแดง
  • Bulbophyllum parviflorum Par. & Rchb. f. สิงโตรวงข้าวน้อย
  • Bulbophyllum propinquum Kraetzl เอื้องกีบม้าขาว
  • Cleisostoma simondii (Gagnep.) Seidenf. เอื้องสร้อยทับทิม
  • Coelogyne brachyptera Rchb. f. เอื้องเทียน เอื้องลำเทียนปากดำ
  • Coelogyne cumingii Lindl. เอื้องมัน
  • Coelogyne trinervis Lindl. เอื้องหมาก
  • Cymbidium aloifolium (L.) Sw. กะเรกะร่อน
  • Dendrobium compactum Rolfe ex W. Hackett เอื้องข้าวตอก
  • Dendrobium draconis Rchb. f. เอื้องเงิน เอื้องตึง 
  • Dendrobium ellipsophyllum Tang & Wang เอื้องทอง 
  • Dendrobium signatum Rchb. f.เอื้องคำกิ่วเอื้องตีนนกเอื้องตีนเป็ด 
  • Dendrobium unicum Seidenf. เอื้องครั่งแสด เอื้องสายสีแสด 
  • Doritis pulcherrima Lindl. ม้าวิ่ง 
  • Eria dasypus Rchb. f. เอื้องลำอ้วนดอกขน 
  • Eria pubescens (Hook.) Steud. เอื้องคำหิน 
  • Eulophia macrobulbon (Par. & Rchb. f.) Hook. f. ว่านอึ่ง 
  • Eulophia spectabilis (Dennst.) Suresh. ว่านหัวครู ว่านดิน 
  • Habenaria dentata (Sw.) Schltr. นางอั้วน้อย เอื้องข้าวตอก 
  • Habenaria humistrata Rolfe ex Downie ตูบหมูบมดลิ่น
  • Habenaria rhodocheila Hance ปัดแดง สังหิน
  • Luisia curtisii Seidenf. ขอซิง 
  • Panisea uniflora (Lindl.) Lindl. เอื้องรงรอง 
  • Pecteilis susannae (L.) Raf. นางอั้ว เอื้องตีนกบ นางกราย 
  • Peristylus lacertiferus (Lindl.) J. J. Sm. อั้วจิ๋วหนวดงาม 
  • Pholidota recurva Lindl. เอื้องเหลี่ยมลำต่อ เอื้องข้อต่อ 
  • Polystachya concreta (Jacq.) Garay & Sweet. เอื้องคางอ้ม 
  • Spathoglottis affinis de Vriese หัวข้าวเหนียว 
  • Tainia angustifolia (Lindl.) Benth. & Hook. f. เอื้องสีลา 
  • Thrixspermum centipeda Lour.เอื้องกลีบผอมตะขาบเหลืองตีนตะขาบ 
  • Trichotosia dasyphylla (Par. & Rchb. f.) Kraetzl เอื้องเบี้ยไม้ใบขน สามก้อม 

 


Cymbidium

Sw., Nova. Acta Regiae Soc, Sci. Upsal. 6: 70 (1799); Benth. & Hook. f., Gen. Pl. 3: 536 (1883); Du Puy & Cribb, Gen. Cymb.: 54 (1988).

กล้วยไม้อิงอาศัยหรือกล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตแบบแตกกอ ลำลูกกล้วยสั้นหรือยาวอยู่ชิดกัน หุ้มด้วยกาบใบที่เรียงตัวซ้อนทับกัน ใบแคบและยาว ตั้งหรือโค้ง ใบอาจหนาหรือบาง มักไม่พบก้านใบ ช่อดอกเกิดจากตาข้างใกล้ฐานของลำลูกกล้วย ช่อมักยาว ตั้งขึ้นหรือห้อยลง ดอกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกขนาดเกือบเท่ากัน มักแผ่กางออก กลีบปากมี 3 แฉก แฉกข้างตั้งขึ้นปิดอยู่ข้างเส้าเกสร กลางกลีบปากระหว่างแฉกข้างมีสันตามยาว 2 สัน เส้าเกสรยาว ก้อนเรณูมี 2 หรือ 4 ก้อน อยู่เป็นคู่ ติดอยู่กับก้านและฐานก้อนเรณูที่กว้าง

Cymbidium aloifolium (L.) Sw., Nova. Acta Regiae Soc, Sci. Upsal 6: 73 (1799); Grant, Orch. Burma: 225 (1895); Bose & Bhattacharjee, Orch. India: 175 (1980); Seidenf. in Opera Botanica 72: 77, fig. 43, pl. Va (1983); Isaac-Williams, Orch. Asia: 81 (1988); Du Puy & Cribb, Gen. Cymb.: 62, fig. 15.1, pl. 1, photos 48, 49 (1988); Seidenf. in Opera Botanica 114: 338 (1992); Seidenf. & Wood, Orch. Pen. Mal. & Sing.: 553, figs. 251e - j (1992).- C. simulans Rolfe, Orch. Rev. 25: 175 (1917). Holttum, Rov. Fl. Malaya 1: 523 (1957); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 3: 508, pl. XXI (1961); Back. & Bakh. f., Fl. Java 3: 395 (1968).

   กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยสั้น รูปไข่ค่อนข้างแบน มีกาบใบหุ้มปิดไว้ ลำแก่มีรอยที่ใบหลุดร่วงไปตามขวาง มองเห็นเป็นลำลูกกล้วยสูง 2 – 5 ซม. ใบ มีหลายใบ รูปขอบขนานแกมรูปแถบ ขนาด 4 - 20 x 1.5 - 2.5 ซม. ใบอวบน้ำ ปลายใบหยักเป็น 2 แฉกไม่เท่ากัน โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำลูกกล้วย ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ช่อดอกแบบช่อกระจะ ห้อยลง ก้านช่อดอกยาว 8 - 12 ซม. หนาประมาณ 4 มม. 1 ช่อมักมีมากกว่า 20 ดอก ดอกสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ก้านช่อดอกยาว 1.5 - 2.5 ซม.ใบประดับที่ก้านดอกย่อยมีขนาดเล็ก ยาว 1.5 - 2 มม. กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน ขนาด 1.8 - 2.5 x 0.4 - 0.7 ซม. กลีบคู่ข้างจะยาวกว่ากลีบอันบนเล็กน้อย กลีบดอกรูปหอกกลับแกมรูปไข่กลับ ขนาด 1.8 - 2.5 x 0.5 - 0.7 ซม. ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน ตรงกลางกลีบมีแถบน้ำตาลแดง กลีบปาก ยาว 1 - 1.5 ซม. แฉกข้างแคบ ปลายเรียวแหลม เมื่อแผ่ออกทั้ง 2 ข้าง กว้าง 1 – 1.2 ซม. แฉกกลางปลายโค้งลง ทั้งแฉกข้างและแฉกกลางมีแถบสีน้ำตาลแดงตามยาว ตรงกลางกลีบปากมีสันสีส้ม 2 สัน ยาวจากฐานกลีบปากถึงฐานแฉกข้าง ตรงกลางสั้นคอด เส้าเกสรสีแดง ขนาด 1 x 0.3 - 0.5 ซม. ก้อนเรณูมี 2 ก้อน เป็นร่องทางด้านหลัง ฝาอับเรณูมีสีเหลือง ผลไม่พบ

ประเทศไทย.- พบทั่วประเทศ

การกระจายพันธุ์.- หมู่เกาะอันดามัน ศรีลังกา อินเดีย เนปาล บังคลาเทศ พม่า จีน ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

นิเวศวิทยา.- พบน้อย บนต้นไม้ตาย บริเวณใกล้หน้าผาสุดแผ่นดิน ออกดอกเดือนเมษายน - พฤษภาคม

ชื่อพื้นเมือง.- กะเรกะร่อน