การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
(Taxonomic Study on Orchidaceae in the Pa-Hin-Ngam National Park, Changwat Chaiyaphum)


รายชื่อกล้วยไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
(List of orchids found in the Pa-Hin-Ngam
National Park)

  • Acriopsis indica Wight นมหนู
  • Aerides houlettiana Rchb. f. กุหลาบเหลืองโคราช
  • Bromheadia aporoides Rchb. f. เอื้องจำปา
  • Bulbophyllum affine Lindl. สิงโตงาม สิงโตประหลาด
  • Bulbophyllum blepharistes Rchb. f. สิงโตกลอกตา สิงโตสมอหิน
  • Bulbophyllum lemniscatoides Rolf สิงโตขนตาแดง
  • Bulbophyllum lepidum (Blume) J. J. Sm สิงโตพัดแดง
  • Bulbophyllum parviflorum Par. & Rchb. f. สิงโตรวงข้าวน้อย
  • Bulbophyllum propinquum Kraetzl เอื้องกีบม้าขาว
  • Cleisostoma simondii (Gagnep.) Seidenf. เอื้องสร้อยทับทิม
  • Coelogyne brachyptera Rchb. f. เอื้องเทียน เอื้องลำเทียนปากดำ
  • Coelogyne cumingii Lindl. เอื้องมัน
  • Coelogyne trinervis Lindl. เอื้องหมาก
  • Cymbidium aloifolium (L.) Sw. กะเรกะร่อน
  • Dendrobium compactum Rolfe ex W. Hackett เอื้องข้าวตอก
  • Dendrobium draconis Rchb. f. เอื้องเงิน เอื้องตึง 
  • Dendrobium ellipsophyllum Tang & Wang เอื้องทอง 
  • Dendrobium signatum Rchb. f.เอื้องคำกิ่วเอื้องตีนนกเอื้องตีนเป็ด 
  • Dendrobium unicum Seidenf. เอื้องครั่งแสด เอื้องสายสีแสด 
  • Doritis pulcherrima Lindl. ม้าวิ่ง 
  • Eria dasypus Rchb. f. เอื้องลำอ้วนดอกขน 
  • Eria pubescens (Hook.) Steud. เอื้องคำหิน 
  • Eulophia macrobulbon (Par. & Rchb. f.) Hook. f. ว่านอึ่ง 
  • Eulophia spectabilis (Dennst.) Suresh. ว่านหัวครู ว่านดิน 
  • Habenaria dentata (Sw.) Schltr. นางอั้วน้อย เอื้องข้าวตอก 
  • Habenaria humistrata Rolfe ex Downie ตูบหมูบมดลิ่น
  • Habenaria rhodocheila Hance ปัดแดง สังหิน
  • Luisia curtisii Seidenf. ขอซิง 
  • Panisea uniflora (Lindl.) Lindl. เอื้องรงรอง 
  • Pecteilis susannae (L.) Raf. นางอั้ว เอื้องตีนกบ นางกราย 
  • Peristylus lacertiferus (Lindl.) J. J. Sm. อั้วจิ๋วหนวดงาม 
  • Pholidota recurva Lindl. เอื้องเหลี่ยมลำต่อ เอื้องข้อต่อ 
  • Polystachya concreta (Jacq.) Garay & Sweet. เอื้องคางอ้ม 
  • Spathoglottis affinis de Vriese หัวข้าวเหนียว 
  • Tainia angustifolia (Lindl.) Benth. & Hook. f. เอื้องสีลา 
  • Thrixspermum centipeda Lour.เอื้องกลีบผอมตะขาบเหลืองตีนตะขาบ 
  • Trichotosia dasyphylla (Par. & Rchb. f.) Kraetzl เอื้องเบี้ยไม้ใบขน สามก้อม 

 


Eulophia

R. Br. ex Lindl., Bot. Reg. 9: t. 686 (1823); Benth. & Hook. f., Gen. Pl. 3: 535 (1833).

กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตแบบแตกกอ มีลำลูกกล้วยอยู่เหนือดิน หรือมีเฉพาะหัวอยู่ใต้ดิน ใบแคบบางยาว คล้ายใบหญ้า หรือใบกว้างและพัดซ้อนกันแบบพัด มีใบพร้อมกับการมีดอกหรือมีใบหลังจากมีดอกแล้ว ช่อดอกออกจากตาข้างของหัวใต้ดิน แบบช่อกระจะ ตั้งตรง มีดอกขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่หลายดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกแผ่กางออก มีขนาดเกือบเท่ากัน กลีบปากติดที่ฐานของเส้าเกสร มี 3 แฉก หรือแฉกข้างหายไป ฐานของกลีบปากเกิดเป็นถุงหรือเดือย เส้าเกสรสั้นหรือยาว มีฐานชัดเจน ก้อนเรณูมี 2 ก้อน ก้านก้อนเรณูสั้น

รูปวิธานแยกชนิด

ดอกสีน้ำตาล เวลาออกดอกไม่พบใบ กลีบปากมีแฉกข้างชัดเจน กลีบปากมีสัน 2 สัน

ปลายกลีบปากมีขน 1. E. macrobulbon

ดอกสีม่วงแกมแดง หรือสีขาวแกมเหลือง มีดอกพร้อมใบ กลีบปากไม่มีแฉกข้าง หรือแฉกข้างไม่ชัดเจน กลีบปากมีสัน 5 - 7 สันไม่ชัดเจน ปลายกลีบปากเกลี้ยง 2. E. spectabilis

1. Eulophia macrobulbon (Par. & Rchb. f.) Hook. f., Fl. Brit. India 6: 7 (1890); Grant, Orch. Burma.: 217 (1895); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 3: 484, fig. 360, pl. XXI (1961); Seidenf. in Opera Botanica 72: 38, fig. 21, pl. IIb (1983); 114: 328 (1992).- Cyrtopera macrobulbon Par. & Rchb. f., Trans. Linn. Soc. 30: 144 (1874).- Eulophia cambodiensis Guillaumin, Bull. Soc. Bot. Fr. 77: 337 (1930).

   กล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตแบบแตกกอ มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน รากออกรอบหัว หนาประมาณ 3 มม. เวลาออกดอกไม่พบใบ ใบ ออกที่ด้านข้างของหัวติดกับก้านช่อดอกที่ออกก่อนใบ ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี ขนาด 10 - 40 x 3.5 - 9 ซม. มีรอยพับตามยาวคล้ายพัด ไม่ชัดเจน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หุ้มซ้อนทับกัน ดูคล้ายลำต้น ยาวประมาณ 10 - 15 ซม. มีสีม่วง ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นใบเห็นชัดเจนทางด้านล่าง ช่อดอก มี 1 ช่อ ออกที่ด้านข้างของหัวใต้ดิน ช่อยาวประมาณ 60 ซม. มีดอกจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาว 33 - 35 ซม. หนาประมาณ 5 มม. โคนก้านช่อมีกาบหุ้ม ใบประดับที่ก้านช่อดอกยาว 3 - 5 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.5 - 2 ซม. ใบประดับที่ก้านดอกย่อยยาวเกือบเท่าก้านดอก กลีบเลี้ยงอันบนรูปรีแกมรูปขอบขนาน ขนาด 0.5 - 1.2 ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปขอบขนาน ขนาด 1.3 - 1.4 x 0.4 - 0.5 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ขนาด 0.9 x 0.5 ซม. ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีน้ำตาล มีเส้นแขนงตามยาวหลายเส้น กลีบปากสีเหลืองมีจุดประสีน้ำตาล ขนาด 1.1 - 2 x 0.8 - 1 ซม. แฉกข้างสั้นอยู่ค่อนไปทางปลายกลีบปาก ปลายแฉกมน โค้งเข้า แฉกกลางมีขนาดเล็ก มีขนสั้น ๆ ปลายมนขอบเป็นคลื่น ตรงกลางกลีบปากมีสัน 2 สันตามยาว ส่วนใหญ่สุดของสันอยู่บริเวณกึ่งกลาง เส้าเกสรสีขาว ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 6 มม. ก้อนเรณู 2 ก้อน ก้านก้อนเรณูสั้น ฝาอับเรณูด้านบนมีเขาสั้น ๆ 2 อัน ผลแห้งแตก รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ขนาด 4 x 1.2 ซม.

ประเทศไทย.- เหนือ: เชียงใหม่ (ดอยสะเก็ด ดอยเชียงดาว อมก๋อย); ตะวันออกเฉียงเหนือ: สกลนคร (ภูพาน) ขอนแก่น (ภูเวียง); ตะวันออก: ชัยภูมิ (หนองบัวแดง ป่าหินงาม) นครราชสีมา (เขาใหญ่) ศรีสะเกษ (กันทรลักษณ์); ตะวันตกเฉียงใต้: เพชรบุรี; ตะวันออกเฉียงใต้: ชลบุรี (ศรีราชา)

การกระจายพันธุ์.- สิกขิม พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย

นิเวศวิทยา.- พบน้อยบนดินร่วนปนทราย ในพื้นที่ค่อนข้างเปิดโล่ง ออกดอกและผลระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม

ชื่อพื้นเมือง.- ว่านอึ่ง

2. Eulophia spectabilis (Dennst.) Suresh., Reg. Veg. 119: 300 (1988).- E. nuda Lindl., Gen. Sp. Orchid. Pl.: 180 (1833); Seidenf. & Smitinand, Orch. Thailand 3: 492, fig. 366 (1961). Seidenf. in Opera Botanica 72: 40, fig. 26 (1983).- E. squalida Lindl., Bot. Reg. 27: misc. 77 (1841).- Cyrtopera regnieri Rchb. f., Gard. Chron.: 294 (1886).- C. godefroyi Rchb. f., Ofia Bot. Hamb. 2: 35 (1878).- E. burkei Rolfe ex Downie in Kew. Bull.: 380 (1925).- Semiphaius chevalieri Gagnep., Bull. Mus. Paris 2. s. 4(5): 598 (1932).- Geodorum pierrei Gagnep., Bull. Mus. Paris 2. s. 4(7): 712 (1932).- E. regnier (Rchb. f.) Guillaumin, Ball. Mus. Paris 2. s. 27(5): 395 (1955).

 

 

 

 

 

 


กล้วยไม้ดิน หัวใต้ดินมีขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน รากมีจำนวนมาก หนาประมาณ 3 มม. มีดอกพร้อมใบ ใบ ออกที่ด้านข้างหัวใต้ดิน 3 - 4 ใบ ใบรูปใบหอกกลับ ขนาด 5 - 22 x 2 - 7 ซม. มีรอยพับตามยาวคล้ายพัด ปลายใบแหลมหรือแหลมเรียว โคนใบสอบซ้อนทับกันดูคล้ายลำต้น ยาว 6 - 10 ซม. มีกาบขนาดใหญ่หุ้มที่โคน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นใบเห็นชัดเจนตามรอยพับตามยาว ช่อดอก มี 1 ช่อ ออกจากกาบเดียวกันที่หุ้มโคนก้านใบ ยาวได้ถึง 40 ซม. จำนวนดอก 5 - 25 ดอก ก้านช่อดอกยาวเกินครึ่งของความยาวช่อดอก หนา 5 - 8 มม. ใบประดับที่ก้านช่อดอกรูปไข่ ยาว 2 - 4 ซม. ดอก สีม่วงแกมแดงหรือขาวแกมเหลืองอยู่ต่างต้นกัน ดอกขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว 2 - 2.5 ซม. ใบประดับที่ก้านดอกย่อยรูปใบหอก ยาว 0.5 - 2 ซม. กลีบเลี้ยงอันบนรูปไข่ ขนาด 1.5 - 2 x 0.7 - 1.2 ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ฐานเบี้ยว กว้าง 0.8 - 1 ซม. ยาว 2 - 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงทั้งหมดมีสันที่ด้านหลังตรงกลาง 1 สัน กลีบดอกรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ฐานเบี้ยว กว้าง 0.8 - 1 ซม. ยาว 1.5 - 2 ซม. ปลายกลีบโค้งออกเล็กน้อย ในดอกสีม่วงแกมแดง กลางกลีบดอกจะมีแถบสีม่วงจางตามยาว กว้างประมาณ 2 มม. ในดอกสีขาวแกมเหลืองไม่มีแถบดังกล่าว กลีบปากรูปไข่ขนาด 2 x 1.5 ซม. ขอบกลีบใกล้ฐานและตรงกลาง ตั้งขึ้น ขอบกลีบบริเวณปลายเป็นคลื่น ปลายกลีบปากเว้าตื้นโค้งลง กลางกลีบในดอกทั้งสองสีมีแถบสีเหลือง เส้าเกสรโค้ง ขนาด 1.2 x 0.5 ซม. ฐานเส้าเกสรยาว เกิดถุงรูปกรวยยาวประมาณ 8 มม. ก้อนเรณู 2 ก้อน ก้านก้อนเรณูสั้น มีฐานกว้าง ฝาอับเรณูด้านบนมีเขาสั้น ๆ 2 อัน ผลไม่พบ

ประเทศไทย.- พบทั่วประเทศ

การกระจายพันธุ์.- ศรีลังกา ตะวันออกเฉียงเหนือเทือกเขาหิมาลัย อัสสัม พม่า ยูนนาน เวียดนาม ลาว ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

นิเวศวิทยา.- พบน้อยในที่ค่อนข้างร่ม มีซากพืชปกคลุมหนาแน่น ริมหน้าผาสุดแผ่นดิน ออกดอกเมษายน - พฤษภาคม

ชื่อพื้นเมือง.- ว่านหัวครู ว่านดิน