การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
(Taxonomic Study on Orchidaceae in the Pa-Hin-Ngam National Park, Changwat Chaiyaphum)


รายชื่อกล้วยไม้ บริเวณอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
(List of orchids found in the Pa-Hin-Ngam
National Park)

  • Acriopsis indica Wight นมหนู
  • Aerides houlettiana Rchb. f. กุหลาบเหลืองโคราช
  • Bromheadia aporoides Rchb. f. เอื้องจำปา
  • Bulbophyllum affine Lindl. สิงโตงาม สิงโตประหลาด
  • Bulbophyllum blepharistes Rchb. f. สิงโตกลอกตา สิงโตสมอหิน
  • Bulbophyllum lemniscatoides Rolf สิงโตขนตาแดง
  • Bulbophyllum lepidum (Blume) J. J. Sm สิงโตพัดแดง
  • Bulbophyllum parviflorum Par. & Rchb. f. สิงโตรวงข้าวน้อย
  • Bulbophyllum propinquum Kraetzl เอื้องกีบม้าขาว
  • Cleisostoma simondii (Gagnep.) Seidenf. เอื้องสร้อยทับทิม
  • Coelogyne brachyptera Rchb. f. เอื้องเทียน เอื้องลำเทียนปากดำ
  • Coelogyne cumingii Lindl. เอื้องมัน
  • Coelogyne trinervis Lindl. เอื้องหมาก
  • Cymbidium aloifolium (L.) Sw. กะเรกะร่อน
  • Dendrobium compactum Rolfe ex W. Hackett เอื้องข้าวตอก
  • Dendrobium draconis Rchb. f. เอื้องเงิน เอื้องตึง 
  • Dendrobium ellipsophyllum Tang & Wang เอื้องทอง 
  • Dendrobium signatum Rchb. f.เอื้องคำกิ่วเอื้องตีนนกเอื้องตีนเป็ด 
  • Dendrobium unicum Seidenf. เอื้องครั่งแสด เอื้องสายสีแสด 
  • Doritis pulcherrima Lindl. ม้าวิ่ง 
  • Eria dasypus Rchb. f. เอื้องลำอ้วนดอกขน 
  • Eria pubescens (Hook.) Steud. เอื้องคำหิน 
  • Eulophia macrobulbon (Par. & Rchb. f.) Hook. f. ว่านอึ่ง 
  • Eulophia spectabilis (Dennst.) Suresh. ว่านหัวครู ว่านดิน 
  • Habenaria dentata (Sw.) Schltr. นางอั้วน้อย เอื้องข้าวตอก 
  • Habenaria humistrata Rolfe ex Downie ตูบหมูบมดลิ่น
  • Habenaria rhodocheila Hance ปัดแดง สังหิน
  • Luisia curtisii Seidenf. ขอซิง 
  • Panisea uniflora (Lindl.) Lindl. เอื้องรงรอง 
  • Pecteilis susannae (L.) Raf. นางอั้ว เอื้องตีนกบ นางกราย 
  • Peristylus lacertiferus (Lindl.) J. J. Sm. อั้วจิ๋วหนวดงาม 
  • Pholidota recurva Lindl. เอื้องเหลี่ยมลำต่อ เอื้องข้อต่อ 
  • Polystachya concreta (Jacq.) Garay & Sweet. เอื้องคางอ้ม 
  • Spathoglottis affinis de Vriese หัวข้าวเหนียว 
  • Tainia angustifolia (Lindl.) Benth. & Hook. f. เอื้องสีลา 
  • Thrixspermum centipeda Lour.เอื้องกลีบผอมตะขาบเหลืองตีนตะขาบ 
  • Trichotosia dasyphylla (Par. & Rchb. f.) Kraetzl เอื้องเบี้ยไม้ใบขน สามก้อม 

 


Acriopsis

Reinw. ex Blume, Bijdr. 376 (1825); Benth. & Hook. f., Gen. Pl. 3: 586 (1883).

กล้วยไม้อิงอาศัย (epiphyte) เจริญเติบโตแบบแตกกอหรือเจริญทางด้านข้าง (sympodial) ลำลูกกล้วย (pseudobulb) รูปไข่ (ovoid) อวบน้ำ มีหลายข้อ บริเวณปล้องมีกาบ (sheath) สีขาว เป็นแผ่นบางหุ้มอยู่ ใบแคบยาว 2-3 ใบ ช่อดอกเกิดจากตาข้างใกล้ฐานของลำลูกกล้วย ช่อตั้งตรง (erect) แบบช่อเดี่ยว (simple) หรือแยกแขนง (branched) มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยงอันบน (dorsal sepal) รูปไข่กลับ (obovate) กลีบเลี้ยงคู่ข้าง (lateral sepals) เชื่อมติดกันโดยตลอดตามความยาวอยู่ใต้กลีบปาก (lip) โคนของกลีบปากเชื่อมกับเส้าเกสร (column) ตั้งแต่ด้านล่างจนถึงประมาณกึ่งกลางของเส้าเกสร ทำให้เกิดเป็นถุงแคบ ๆ เส้าเกสรตั้งเกือบตรง บริเวณข้างยอดเกสรเพศเมีย (stigma) มีรยางค์ยื่นออกมาข้างละ 1 อัน ก้อนเรณู (pollinia) มี 4 ก้อน ก้านก้อนเรณู (stipe) เล็กแคบ

Acriopsis indica Wight, Ic. Pl. 5: 20, pl. 1748-1 (1852); Hook. f. in Fl. Brit. India 6: 79 (1890); Grant, Orch. Burma: 313 (1895); Holttum, Rev. Fl. Malaya 1: 553 (1953); Seidenf.  & Smitinand, Orch. Thailand 3: 515, fig. 380 (1961); Seidenf. in Opera Botanica 72: 103, fig. 57, pl. VIIIa (1983); Vogel, Orch. Monographs 1: 8, fig. 5, pl. 1b (1986); Seidenf. in Opera Botanica 114: 347, fig. 232 (1992); Seidenf. & Wood, Orch. Pen. Mal. & Sing.: 566, figs. 257c-f (1992).

   กล้วยไม้อิงอาศัย พบในที่มีแสงมาก ลำลูกกล้วยขนาด 1 - 2 x 0.8 - 1.2 ซม. มี 3 - 5 ข้อ ลำลูกกล้วยเกาะกันเป็นกลุ่ม ค่อนข้างแน่น  ใบ เกิดที่ปลายลำลูกกล้วย รูปขอบขนานและยาว ปลายใบแหลม โคนใบแคบ ขอบใบเรียบ ขนาดใบ 5 - 12 x 0.6 - 0.8 ซม. ก้านช่อดอก (scape) สีเขียว ยาว 4 - 10 ซม. ช่อดอกแตกแขนงมาก ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง กระจายห่าง ๆ ใบประดับย่อย (bracteole) สีเขียว ยาวประมาณ 1 มม. ปลายแหลม  ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. ก้านดอก (pedicel) ยาว 0.6 - 0.7 ซม. กลีบเลี้ยงอันบนโค้ง ขนาด 1.2 x 5 มม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างที่เชื่อมติดกัน ขนาด 1.5 x 5 มม. กลีบดอก (petal) รูปไข่กลับ ปลายกลม ขนาด 4 x 2 มม. ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจุดสีม่วงกระจายห่าง ๆ กลีบปากสีขาว รูปไข่ ขนาด 4 x 2.5 มม. ขอบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ตรงกลางมีสันนูน (callus)  2 สัน คู่กัน เส้าเกสรสีเขียว ขนาด 3 x 1 มมผล เป็นฝัก (capsule) ขนาด 1 - 1.5 x 0.8 - 1 ซม.

ประเทศไทย.- พบทั่วประเทศ

การกระจายพันธุ์.- อินเดีย  พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย
และฟิลิปปินส์

นิเวศวิทยา.- พบทั่วไปในป่าเต็งรัง ออกดอกและผลระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ - พฤษภาคม

ชื่อพื้นเมือง.-  นมหนู