Index to botanical names
Fabaceae
ไม้ต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง 30 ม. มีขนตามกิ่งอ่อน แผ่นใบด้านล่าง และก้านช่อดอก หูใบรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 3 มม. ใบประกอบ 2 ชั้น แกนกลางยาว 3–7 ซม. ใบประกอบย่อยมี 1 คู่ ยาว 10–30 ซม. มีต่อมระหว่างใบประกอบย่อย ใบย่อยมี 3–6 คู่ รูปรี รูปไข่ หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 4–14 ซม. ก้านใบย่อยยาว 2–3 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกคล้ายช่อกระจะสั้น ๆ ก้านช่อโดดยาวได้ถึง 9 ซม. ใบประดับรูปช้อน ยาว 2–3 มม. ดอกสมบูรณ์เพศหรือดอกเพศผู้ มีขนสั้นหนานุ่ม หลอดกลีบเลี้ยงยาว 3–4 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 3.5–4.5 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน แยกกัน ยาว 0.5–1.2 ซม. อับเรณูไม่มีต่อม รังไข่มีขน ผลเป็นฝักโค้งคล้ายบูมเมอแรง ยาว 12–17 ซม. กว้าง 3.5–6 ซม. แห้งแตกอ้าออก มี 7–10 เมล็ด รูปรี แบน ๆ ยาวประมาณ 1 ซม.พบที่พม่าและภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทุกภาค ภาคใต้ถึงสุราษฎร์ธานี ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 850 เมตร เปลือกมีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง ทางภาคเหนือใช้เคี้ยวกับหมาก หรือขูดใส่ลาบช่วยให้เนื้อแน่น ส่วน var. xylocarpa พบที่อินเดียและพม่า ใบเกลี้ยงกว่า และอับเรณูมีต่อมสกุล Xylia Benth. อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Mimosoideae มี 12 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแอฟริกา และมาดากัสการ์ ในไทยมีชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “xylon” เนื้อไม้ ตามลักษณะเนื้อไม้ที่แข็ง
ชื่อพ้อง Xylia kerrii Craib & Hutch.
ชื่อสามัญ Ironwood
ชื่ออื่น กร้อม (ชาวบน-นครราชสีมา); คว้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี, เชียงใหม่); ไคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); จะลาน, จาลาน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); แดง (ทั่วไป); ตะกร้อม (ชอง-จันทบุรี); ปราน (ส่วย-สุรินทร์); ไปรน์ (เขมร-ศรีสะเกษ); ผ้าน (ละว้า-เชียงใหม่); เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก); เพร่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สะกรอม (เขมร-จันทบุรี)
แดง: ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกคล้ายช่อกระจะสั้น ๆ ก้านช่อโดดยาว ฝักโค้งคล้ายบูมเมอแรง (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
Nielsen, I.C. (1985). Leguminosae-Mimosoideae. In Flora of Thailand Vol. 4(2): 149–150.
Parnell, J. and P. Chantaranothai. (2002). Myrtaceae (Syzygium myrtifolium Walp.). In Flora of Thailand Vol. 7(4): 840.