Index to botanical names
Paulowniaceae
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น อิงอาศัย สูงได้ถึง 15 ม. มีเกล็ดและขนรูปดาวหนาแน่นตามแผ่นใบด้านล่าง ช่อดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านนอก ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 10–30 ซม. แผ่นใบหนา ก้านใบยาวได้ถึง 2 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ ยาว 10–20 ซม. ก้านช่อและก้านดอกสั้น ใบประดับย่อยขนาดเล็ก 2 อัน กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาวประมาณ 8 มม. ปลายแยก 3–4 แฉกตื้น ๆ ดอกสีชมพู ยาว 2.5–3.5 ซม. กลีบรูปปากเปิด หลอดกลีบดอกสั้น กลีบปากบนยาวประมาณ 8 มม. แยก 2 แฉก กลีบปากล่าง 3 กลีบ ยาว 6–7 มม. เกสรเพศผู้ 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน อับเรณูรูปลูกศร ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก รังไข่มี 2 ช่อง มีริ้ว ก้านเกสรเพศเมียสั้นกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย ผลแห้งแตกกลางพู รูปขอบขนาน ยาว 2.5–4 ซม. เมล็ดจำนวนมาก รูปแถบ ยาวประมาณ 7 มม. มีปีกบาง แคบ ๆพบที่เนปาล อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามคบไม้ หรือก้อนหิน ในป่าดิบเขา ความสูง 1300–2000 เมตรสกุล Wightia เดิมอยู่ภายใต้วงศ์ Scrophulariaceae มีเพียง 2 ชนิด อีกชนิดคือ ศรีฮาลา W. borneensis Hook.f. พบทางภาคใต้ตอนล่าง และภูมิภาคมาเลเซีย ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวบริติช Robert Wight (1796–1872)
ชื่อพ้อง Gmelina speciosissima D.Don
ชื่ออื่น ชมพูพาน (เชียงใหม่); ตุมกาแดง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชมพูพาน: ใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ กลีบดอกรูปปากเปิด (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Hong, D., H. Yang, C.L. Jin, M.A. Fischer, N.H. Holmgren and R.R. Mill. (1998). Scrophulariaceae. In Flora of China Vol. 18: 10–11.
Yamazaki, T. (1990). Scrophulariaceae. In Flora of Thailand Vol. 5(2): 142–143.