Index to botanical names
Dilleniaceae
ไม้เถา ลำต้นและใบสากเล็กน้อย ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ส่วนมากยาว 6–10 ซม. ปลายมนหรือกลม โคนแหลมหรือมน ก้านใบยาว 0.7–1 ซม. ช่อดอกยาวได้ถึง 20 ซม. ก้านดอกยาว 3–7 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ คู่นอกยาวประมาณ 5 มม. 3 กลีบในยาวประมาณ 7 มม. ติดทน ดอกสีขาวหรืออมชมพู มี 3 กลีบ รูปไข่แคบ ๆ ยาวประมาณ 5 มม. เกสรเพศผู้ยาวกว่ากลีบเลี้ยง มี 2–3 คาร์เพล เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย ผลยาว 7–8 มม. ปลายเป็นจะงอย ยาว 2–3 มม. มี 1–2 เมล็ด เมล็ดรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม. เยื่อหุ้มเมล็ดที่โคน ยาวได้ถึง 6 มม.พบที่กัมพูชา เวียดนาม ในไทยพบกระจายแทบทุกภาค ยกเว้นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามชายป่า ความสูงถึงประมาณ 400 เมตร
ชื่อพ้อง Tetracera sarmentosa (L.) Vahl var. loureiri Finet & Gagnep.
ชื่ออื่น เถากะปดใบเลื่อม (ประจวบคีรีขันธ์); บอระคน (ตรัง); ปดคาย (สุราษฎร์ธานี); ปดน้ำมัน (ปัตตานี); ปดเลื่อน (สุราษฎร์ธานี); ปะละ (มาเลย์-นราธิวาส); มะตาดเครือ (กรุงเทพฯ); ย่านปด (นครศรีธรรมราช); รสสุคนธ์, รสสุคนธ์ขาว (กรุงเทพฯ); สะปัลละ (มาเลย์-นราธิวาส); สุคนธรส, เสาวรส (กรุงเทพฯ); อรคนธ์ (ตรัง)
รสสุคนธ์: กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดทน มี 2–3 คาร์เพล เกลี้ยง ปลายผลเป็นจะงอย (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Hoogland, R.D. (1972). Dilleniaceae. In Flora of Thailand Vol. 2(2): 105–108.
Zhang, Z. and K. Kubitzki. (2007). Dilleniaceae. In Flora of China Vol. 12: 331.