Index to botanical names
Moraceae
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. หนามยาว 1–4.5 ซม. กิ่งมีขน หูใบยาว 3–8 มม. ใบรูปรี รูปไข่กลับ ยาว 4–25 ซม. ปลายมีติ่งคล้ายหนาม ขอบจักฟันเลื่อยเป็นหนามห่าง ๆ เส้นแขนงใบข้างละ 8–12 เส้น ก้านใบยาว 0.2–1 ซม. ช่อดอกเพศผู้แบบช่อเชิงลด 1–2 ช่อ ยาว 1–5 ซม. ก้านช่อและก้านดอกสั้นมาก กลีบรวมยาวประมาณ 1 มม. เกสรเพศผู้ยาว 2–2.5 มม. ช่อดอกเพศเมียแบบช่อกระจะ ออกเดี่ยว ๆ ก้านช่อยาวประมาณ 1.5 ซม. มี 1–3 ดอก ก้านดอกยาว 2–8 มม. กลีบรวมยาว 1–2 มม. กลีบคู่ในขยายในผลยาวได้ถึง 1 ซม. มีขนครุย ยอดเกสรยาว 2–3.5 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. กลีบรวมหุ้มประมาณกึ่งหนึ่งพบที่อินเดีย บังกลาเทศ จีนตอนใต้ พม่า ลาว เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในไทยพบกระจายทั่วไปทุกภาค โดยเฉพาะตามเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ 500 เมตร
ชื่อพ้อง Taxotrophis ilicifolius Vidal
ชื่อสามัญ Jungle holly
ชื่ออื่น กระชิด (ภาคใต้); กะฉิม (เขมร-ปราจีนบุรี); กาซึ้ม (จันทบุรี); ข่อยหนาม (ทั่วไป); ขี้แรด (ระนอง); ขี้แรดควน (ปัตตานี); ขี้แรดเมีย (สุราษฎร์ธานี); ไขนกฤช (สระบุรี); มะโอมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ไม (มาเลย์-นราธิวาส); สยอง (ปราจีนบุรี); หนามแจง (ลำปาง); อีแรด (ปัตตานี)
ข่อยหนาม: ขอบใบจักฟันเลื่อยเป็นหนาม ช่อดอกเพศผู้แบบช่อเชิงลด 1–2 ช่อ ออกตามซอกใบ ก้านช่อสั้น (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
Berg, C.C., N. Pattharahirantricin and B. Chantarasuwan. (2011). Moraceae. In Flora of Thailand Vol. 10(4): 667–674.
Wu, Z., Z.K. Zhou and M.G. Gilbert. (2003). Moraceae. In Flora of China Vol. 5: 28–30.