Index to botanical names
Malvaceae
ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5–20 ม. กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น หูใบคล้ายรยางค์ ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาว 10–30 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว แผ่นใบมีขนหนาแน่น เส้นแขนงใบเรียงจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบยาว 1–3 ซม. ช่อดอกโค้งลง ยาว 10–20 ซม. ก้านดอกยาว 0.5–1.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาว 0.7–1 ซม. แฉกลึกเกินกึ่งหนึ่ง ปลายเชื่อมติดกันด้วยขน เกสรเพศผู้ 10 อัน อับเรณูไร้ก้าน ก้านเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน มีขนหนาแน่น มี 2–5 ผลย่อย รูปขอบขนาน ยาว 5–9 ซม. มีขนสั้นสีน้ำตาลดำหนาแน่น มี 3–6 เมล็ด รูปรี ยาว 1–1.5 ซม. สีดำพบที่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า คาบสมุทรมลายู และสุมาตรา ในไทยพบทุกภาค โดยเฉพาะบนเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ 1600 เมตร
ชื่อพ้อง Sterculia angustifolia Roxb.
ชื่ออื่น ขมิ้นแดง (ภูเก็ต); ช้าสามแก้ว, ปอขนุน (ประจวบคีรีขันธ์); ปอคำ (ภาคใต้); ปอแดงดง (ภาคเหนือ); ปอฟาน (ภาคใต้); พวงกำมะหยี่ (เลย); มักลิ้นอาง (เชียงใหม่, เลย); สำรองซัล (ชอง-จันทบุรี); สำโรง (จันทบุรี)
ปอขนุน: กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น กลีบเลี้ยงแฉกลึกเกินกึ่งหนึ่ง ปลายเชื่อมติดกันด้วยขน ผลย่อยรูปขอบขนาน เมล็ดรูปรี (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Phengklai, C. (2001). Sterculiaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 623–649.
Tang, Y., M.G. Gilbert and L.J. Dorr. (2007). Sterculiaceae. In Flora of China Vol. 12: 303.