สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



หนอนตายหยาก3
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Stemona tuberosa Lour.

Stemonaceae

ไม้เถาล้มลุก ยาว 2–5 ม. ใบเรียงตรงข้ามหรือเรียงรอบข้อ บางครั้งเรียงเวียนช่วงโคนต้น รูปไข่กว้าง ยาว 10–21 ซม. โคนรูปหัวใจตื้น ๆ เส้นแขนงใบ 13–15 เส้น ก้านใบยาว 6–10 ซม. ช่อดอกออกตามซอกใบ ก้านช่อยาว 0.8–3.5 ซม. มีหนึ่งหรือหลายดอก ใบประดับยาว 0.5–2.5 ซม. ดอกสีเขียวอมเหลือง โคนมีปื้นสีน้ำตาลแดง ก้านดอกยาว 0.5–1.8 ซม. กลีบรวมรูปใบหอกปลายแหลม กว้าง 5–6 มม. ยาว 2.5–3.5 ซม. เกสรเพศผู้ยาวได้ถึง 3 ซม. รวมปลายแกนอับเรณูรูปลิ่มที่ยาวกว่า 2 ซม. มีรยางค์คล้ายเดือย ยาว 5–6 มม. ก้านชูอับเรณูยาว 1–2 มม. ผลรูปไข่แคบ ยาว 2–4.5 ซม. มี 10–20 เมล็ด สีน้ำตาล ยาว 1–1.2 ซม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ เครือปุง, สกุล)

พบที่อินเดีย จีนตอนใต้ ไต้หวัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นหลากหลายสภาพป่า หรือบนเขาหินปูน ความสูง 200–1200 เมตร รากมีสรรพคุณต้านเชื้อแบคทีเรีย บรรเทาอาการไอ ฆ่าพยาธิ และฆ่าแมลงศัตรูพืช

ชื่ออื่น   กะเพียด (ชลบุรี, ประจวบคีรีขันธ์); ปุงช้าง (ภาคเหนือ); หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน)

หนอนตายหยาก: S. tuberosa ใบเรียงตรงข้ามหรือเรียงรอบข้อ บางครั้งเรียงเวียนช่วงโคนต้น โคนรูปหัวใจตื้น ๆ กลีบรวมรูปใบหอกปลายแหลม ปลายแกนอับเรณูรูปลิ่ม (ภาพ: ปาจรีย์ อินทะชุบ)

เอกสารอ้างอิง

Duyfjes, B.E.E. and P. Inthachub. (2011). Stemonaceae. In Flora of Thailand Vol. 11(1): 80, 91–94.