| | Selliguea hirsuta (Tagawa & K. Iwats.) S. Linds. |
|
เฟินขึ้นบนก้อนหิน เหง้าเส้นผ่านศูนย์กลาง 3–4 มม. เกล็ดยาวประมาณ 4 มม. ใบรูปเงี่ยงลูกศร หรือจักข้างละพู กว้างได้ถึง 21 ซม. ยาวได้ถึง 24 ซม. พูข้างรูปเคียว กว้าง 2–3 ซม. ยาวได้ถึง 12 ซม. ปลายแหลม พูปลายยาวได้ถึง 20 ซม. โคนคอด แผ่นใบบาง ด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ก้านใบยาวได้ถึง 12 ซม. มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น เส้นแขนงใบชัดเจน เส้นใบชัดเจนหรือไม่ชัดเจน กลุ่มอับสปอร์ติดระหว่างเส้นแขนงใบเรียงแถวเดียว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม.
พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่เชียงใหม่ เชียงราย ตาก พิษณุโลก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลย ขึ้นตามโขดหินที่แห้งหรือที่ชุ่มชื้น ในป่าดิบเขา ความสูง 1000–1800 เมตร
| ชื่อพ้อง Crypsinus hirsutus Tagawa & K.Iwats.
| | | | | กูดฮ่อมใบขน: ใบรูปเงี่ยงลูกศร หรือจักข้างละพู โคนคอด แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม กลุ่มอับสปอร์เรียงแถวเดียว (ภาพ: ธรรมรัตน์ พุทธไทย)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Lu, S., P.H. Hovenkamp and M.G. Gilbert. (2013). Polypodiaceae (Selliguea). In Flora of China Vol. 2–3: 773, 775, 779. |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1989). Polypodiaceae (Crypsinus). In Flora of Thailand Vol. 3(4): 556, 559–561. |