สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

เคาะ
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

เคาะจ้ก
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

กาซ้อ
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

กาซ้อง
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

คอส้ม
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

ค้อ
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

คุ้ย
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

ซะอู่เสก
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ



ตะคร้อ
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ไม้ต้น สูงได้ถึง 40 ม. ปลายยอดเป็นติ่งคล้ายหูใบ ใบประกอบปลายคู่ มีใบย่อย 2–4 คู่ ก้านยาว 2–6 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 4.5–25 ซม. โคนเบี้ยว แผ่นใบด้านล่างมีขน ก้านใบยาว 1–3 มม. บวม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดงหรืออมม่วง ช่อดอกคล้ายช่อกระจุกไม่แยกแขนง ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกเหนือรอยแผลใบ ยาว 6–15 ซม. ดอกมีเพศเดียว กลีบเลี้ยง 4–6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก จานฐานดอกรูปวงแหวน ช่อดอกเพศผู้แตกแขนง ก้านดอกยาวประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันที่โคน กลีบรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 มม. มีขนหรือต่อมกระจาย เกสรเพศผู้ 5–9 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2 มม. มีขน ลดรูปในดอกเพศเมีย ช่อดอกเพศเมียส่วนมากไม่แตกแขนง รังไข่มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียหนา ยาวประมาณ 1.5 มม. ผลรูปรีเกือบกลม ยาว 1.5–2.5 ซม. ปลายมีติ่งแหลม มี 1–2 เมล็ด กลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีเยื่อหุ้มสดสีเหลืองอมน้ำตาล

พบที่อินเดีย ศรีลังกา พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร ไม้ใช้ทำฟืนและถ่านคุณภาพดี ผลรสเปรี้ยว ใบอ่อนเป็นผักสด

สกุล Schleichera Willd. มีเพียงชนิดเดียว ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน Johann Christoph Schleicher (1768–1834)

ชื่อพ้อง  Pistacia oleosa Lour., Schleichera trijuga Willd.

ชื่อสามัญ  Ceylon oak

ชื่ออื่น   กาซ้อ, กาซ้อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ค้อ (กาญจนบุรี); คอส้ม (เลย); คุ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); เคาะ (พิษณุโลก, นครพนม); เคาะจ้ก (ภาคเหนือ); ซะอู่เสก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ตะคร้อ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ตะคร้อไข่ (ภาคกลาง, ภาคตะวันตกเฉียงใต้); ปันรัว (เขมร-สุรินทร์); ปั้นโรง (เขมร-บุรีรัมย์); มะเคาะ, มะโจ้ก (ภาคเหนือ)

ตะคร้อ: ใบประกอบปลายคู่ มีใบย่อย 2–4 คู่ โคนใบเบี้ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ช่อดอกคล้ายช่อกระจุกไม่แยกแขนง ไม่มีกลีบดอก ผลสด รูปรีเกือบกลม ปลายมีติ่งแหลม (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล, ปรีชา การะเกตุ)

เอกสารอ้างอิง

Iwasa, S. (1997). Schleichera oleosa (Lour.) Oken. In Plant Resources of South-East Asia 11. Auxiliary plants. Backhuys Publishers, Leiden, The Netherlands.

van Welzen, P.C. (1999). Sapindaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(1): 241.

ตะคร้อไข่
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

ปั้นโรง
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

ปันรัว
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

มะเคาะ
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ

มะโจ้ก
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

Sapindaceae

ดูที่ ตะคร้อ