| | Saraca thaipingensis Cantley ex Prain |
|
ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. แกนใบประกอบยาว 20–75 ซม. ใบย่อยมี 4–8 คู่ รูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 7–32 ซม. ปลายแหลม โคนรูปลิ่มหรือกลม ก้านใบย่อยยาว 1–1.5 ซม. ช่อดอกมักออกตามกิ่ง กว้าง 15–35 ซม. ใบประดับขนาดใหญ่กว่าใบประดับย่อย รูปไข่ ยาว 1–3.5 ซม. ร่วงเร็ว ใบประดับย่อยรูปใบหอก ยาว 0.6–1.7 ซม. ร่วงเร็ว ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม. ฐานดอกยาว 1–2.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 0.5–1 ซม. สีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้ม เกสรเพศผู้ 3–7 อัน รังไข่มีขน ฝักรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 15–40 ซม. โค้งทั้งสองด้าน ปลายมีจะงอย ยาวประมาณ 1.5 ซม. มี 6–8 เมล็ด เมล็ดรูปรี ยาวประมาณ 3.5 ซม.
พบที่พม่าตอนใต้ คาบสมุทรมลายู และชวา ในไทยพบทางภาคใต้ที่ภูเก็ต ตรัง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร เปลือกมีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ
| | | ชื่อสามัญ Yellow ashok tree, Yellow Saraca
| ชื่ออื่น ศรียะลา, โสกเหลือง (กรุงเทพฯ); อโศกเหลือง, อโศกใหญ่ (ภาคใต้)
| | โสกเหลือง: ช่อดอกออกตามกิ่งหรือลำต้น ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น กลีบเลี้ยงคล้ายกลีบดอก มี 4 กลีบ ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 3–7 อัน ฝักโค้งทั้งสองด้าน ปลายมีจะงอย (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Ding Hou, K. Larsen and S.S. Larsen. (1996). Caesalpiniaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae) (Saraca). In Flora Malesiana Vol. 12: 660–673. |
| Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 94–98. |