สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



โสก
วันที่ 2 ตุลาคม 2560

Saraca indica L.

Fabaceae

ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. แกนกลางใบประกอบยาว 10–50 ซม. ใบย่อยมี 1–7 คู่ รูปรี รูปไข่ หรือรูปใบหอก ยาว 5–30 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนรูปลิ่ม กลม หรือเว้าตื้น เส้นแขนงใบข้างละ 15–20 เส้น ก้านใบย่อยยาว 3–5 มม. ช่อดอกยาว 3–15 ซม. กว้างประมาณ 10–20 ซม. ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ ยาว 2–8 มม. สีเดียวกับกลีบเลี้ยง ใบประดับย่อยติดประมาณกึ่งกลางก้านดอก ติดทนหรือร่วงเร็ว ก้านดอกยาว 1–2.5 ซม. ฐานดอกยาว 0.7–1.6 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปรี ยาว 0.5–1.2 ซม. สีส้มอมเหลือง เกสรเพศผู้มี 6–8 อัน รังไข่มีขนตามขอบ ฝักแบน รูปไข่ หรือรูปรีแกมขอบขนาน ยาว 6–25 ซม. ปลายมีจะงอยสั้น ๆ ก้านฝักยาวประมาณ 0.5 ซม. ส่วนมากมี 4–6 เมล็ด

พบในภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และชวา ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร คล้ายกับ S. asoca (Roxb.) W.J.de Wilde ของอินเดีย ที่ใบประดับย่อยโอบรอบก้านดอก ติดทน ทั้งสองชนิดมีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง

ชื่อสามัญ  Ashoka, Sorrowless tree

ชื่ออื่น   กาแปะห์ไอย์ (มาเลย์-ยะลา); ชุมแสงน้ำ (ยะลา); ตะโดลีเต๊าะ (มาเลย์-ปัตตานี); ส้มสุก (ภาคเหนือ); โสก (ภาคกลาง); โสกน้ำ (สุราษฎร์ธานี)

โสก: ใบประกอบ ก้านใบย่อยสั้น ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ใบประดับย่อยติดประมาณกึ่งกลางก้านดอก กลีบเลี้ยงสีส้มอมเหลือง ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 6–8 อัน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Ding Hou, K. Larsen and S.S. Larsen. (1996). Caesalpiniaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae) (Saraca). In Flora Malesiana Vol. 12: 660–673.

Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 94–98.

โสกน้ำ
วันที่ 2 ตุลาคม 2560

Saraca indica L.

Fabaceae

ดูที่ โสก

กาแปะห์ไอย์
วันที่ 2 ตุลาคม 2560

Saraca indica L.

Fabaceae

ดูที่ โสก

ชุมแสงน้ำ
วันที่ 2 ตุลาคม 2560

Saraca indica L.

Fabaceae

ดูที่ โสก

ตะโดลีเต๊าะ
วันที่ 2 ตุลาคม 2560

Saraca indica L.

Fabaceae

ดูที่ โสก

ส้มสุก
วันที่ 2 ตุลาคม 2560

Saraca indica L.

Fabaceae

ดูที่ โสก