สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

เพาะเดะโก๊ะ
วันที่ 29 เมษายน 2559

Ranunculus siamensis Tamura

Ranunculaceae

ดูที่ กลีบเทียน



กลีบเทียน
วันที่ 29 เมษายน 2559

Ranunculus siamensis Tamura

Ranunculaceae

ไม้ล้มลุก บางครั้งทอดเลื้อย สูง 30–80 ซม. กิ่งมีขนแข็งสีขาว ใบเรียงเวียน ใบที่โคนต้นเป็นใบเดี่ยวหรือมี 3 ใบย่อย ก้านใบยาว 6–20 ซม. โคนก้านคล้ายกาบ ใบย่อยรูปไข่กลับ ยาว 3.5–7 ซม. ใบตอนปลายกิ่งแฉกลึก 2–4 แฉก ขอบจักซี่ฟันไม่เป็นระเบียบ ใบที่ลำต้นมี 2–4 ใบ ขนาดเล็กกว่าใบที่โคนต้น ไร้ก้าน ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น มี 3–7 ดอก ใบประดับรูปแถบหรือมี 3 แฉก ก้านดอกยาว 2–10 ซม. มีขนแข็ง ดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7–1.5 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 4–5 มม. ดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 7–8 มม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวประมาณ 3 มม. คาร์เพลจำนวนมาก แต่ละคาร์เพลมีช่องเดียว ผลย่อยแบบผลแห้งเมล็ดล่อน ติดเป็นช่อกลมเป็นกระจุกแน่น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.2 ซม. แบน มีขอบและจะงอย

พบที่เนปาล อินเดีย พม่า เวียดนามตอนบน ในไทยพบทางภาคเหนือที่เชียงใหม่ ขึ้นตามที่ชื้นแฉะในป่าเต็งรังหรือป่าสน ความสูง 850–1500 เมตร

สกุล Ranunculus L. มีประมาณ 650 ชนิด ส่วนมากพบในเขตอบอุ่นทางซีกโลกเหนือ ในไทยมี 3 ชนิด ชื่อสกุลเป็นภาษาละตินหมายถึงกบขนาดเล็ก หมายถึงถิ่นที่อยู่ตามที่ชื้นแฉะคล้ายกบ

ชื่ออื่น   กลีบเทียน (ชียงใหม่); เพาะเดะโก๊ะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)

กลีบเทียน: ใบแฉกลึก 2–4 แฉก ดอกสีเหลือง ผลย่อยเป็นช่อกระจุกแน่น (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)

เอกสารอ้างอิง

Tamura, M. (2011). Ranunculaceae. In Flora of Thailand Vol. 11(1): 65–68.