ไม้เถาขนาดใหญ่ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง หูใบขนาดเล็ก ใบรูปไข่เกือบกลม ยาวได้ถึง 12 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกตื้น ๆ ก้านใบยาว 1–5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่นแยกแขนง ก้านดอกยาวได้ถึง 3 ซม. ใบประดับย่อยติดใกล้จุดกึ่งกลางก้านดอก ตาดอกรูปรี ยาว 3–5 มม. ฐานดอกสั้น กลีบเลี้ยงแยก 2–3 ส่วน ปลายกลีบพับงอ ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบรูปไข่กลับ ยาว 0.8–1.5 ซม. มีขนประปรายด้านนอก เกสรเพศผู้ 3 อัน ยาวเท่า ๆ กลีบดอก เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 2 อัน รังไข่มีขนสีน้ำตาลแดง ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 มม. ฝักรูปแถบ ยาว 15–20 ซม. เกลี้ยง มี 5–8 เมล็ด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ แสลงพัน, สกุล)
พบที่คาบสมุทรมลายู และภาคใต้ของไทย พบกระจายตั้งแต่จังหวัดระนองแถบคอคอดกระลงไป ขึ้นตามชายป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร
|
ชื่อพ้อง Bauhinia integrifolia Roxb.
|
|
|
ชื่ออื่น กุกูกูด้อ, กุกูกูบา (มาเลย์-ปัตตานี); ชงโคย่าน (ตรัง); ชิงโคย่าน (ภาคใต้); ดาโอะ (นราธิวาส); เถาไฟ (กรุงเทพฯ); ปอลิง (สุราษฎร์ธานี); ย่านชงโค (ตรัง); โยทะกา (กรุงเทพฯ); เล็บควายใหญ่ (ยะลา, ปัตตานี)
|
|
เถาไฟ: ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่นแยกแขนง ตาดอกรูปรี ฝักเกลี้ยง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา, สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
|
|