สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



ชมพูเชียงดาว
วันที่ 28 กันยายน 2559

Pedicularis siamensis P.C.Tsoong

Orobanchaceae

ไม้ล้มลุก สูง 40–60 ซม. ลำต้นมีขน ใบเรียงเป็นวง 3–4 ใบ รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 1.5–4.5 ซม. จักลึกแบบขนนก มีประมาณ 5–12 คู่ ขอบจักซี่ฟัน มีขนบางและแห้งทั้งสองด้าน ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 40 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงยาว 0.8–1 ซม. เป็นสันตื้น ๆ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาวประมาณ 3 มม. รูปแถบ 1 กลีบ รูปใบหอกกลับ 4 กลีบ ขอบจัก ดอกสีชมพูถึงม่วงเข้ม หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม. กลีบปากบนรูปหมวก ยาวประมาณ 1 ซม. งุ้มเข้า กลีบปากล่างบานออก มี 3 กลีบ ยาวประมาณ 1 ซม. กลีบกลางกลม ยาวประมาณ 5 มม. กลีบข้างรูปรี ยาวประมาณ 6 มม. เกสรเพศผู้เกลี้ยง โคนอับเรณูแหลม ผลรูปไข่ ยาว 0.8–1.2 ซม. ปลายมีติ่งแหลม เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นตามเขาหินปูนที่โล่ง ความสูง 1800–2100 เมตร

ชมพูเชียงดาว: ใบจักลึกแบบขนนก ช่อดอกแบบช่อกระจะ กลีบดอกรูปปากเปิด กลีบปากบนรูปหมวก (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)

เอกสารอ้างอิง

Yamazaki, T. (1990). Scrophulariaceae. In Flora of Thailand Vol. 5(2): 235–237.