| | Parahemionitis cordata (Roxb. ex Hook. & Grev.) Fraser-Jenk. |
|
เฟินขึ้นบนพื้นดิน เหง้าสั้น มีเกล็ดสีน้ำตาล เรียวแคบ ยาว 2–3 มม. มีขนปุกปุย ใบมี 2 แบบ ใบไม่สร้างสปอร์ก้านยาวได้ถึง 8 ซม. ใบสร้างสปอร์ ก้านยาวได้ถึง 20 ซม. ด้านบนเป็นร่อง มีเกล็ดและขนปกคลุม ใบไม่สร้างสปอร์รูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาวได้ถึง 7 ซม. ปลายกลม โคนเว้าลึก แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดและขนกระจาย ขอบมีขนหนาแน่น เส้นแขนงใบแบบร่างแห ใบสร้างสปอร์ขนาดเล็กและบางกว่า ปลายแหลมมน กลุ่มอับสปอร์เกิดตามเส้นแขนงใบทั่วตลอดทั้งแผ่นใบด้านล่าง
พบที่อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ ไห่หนาน ไต้หวัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรลายู ชวา ฟิลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 600 เมตร
สกุล Parahemionitis Panigrahi มีเพียง 2 ชนิด พบเฉพาะในเอเชีย อีกชนิดหนึ่งคือ P. arifolia (Burm.f.) Panigrahi พบที่ศรีลังกา และชวา ชื่อสกุลหมายถึงสกุลที่คล้ายกับสกุล Hemionitis
| ชื่อพ้อง Hemionitis cordata Roxb. ex Hook. & Grev.
| | | ชื่ออื่น กูดใบบอน, กูดใบบัว, ใบหัวใจ, ปักเป้า, ลิ้นวัว (ทั่วไป); กูดลูกศร (ชลบุรี)
| | กูดใบบัว: ใบสร้างสปอร์ก้านใบยาวกว่าใบไม่สร้างสปอร์ โคนเว้าลึก แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดและขนกระจาย
กลุ่มอับสปอร์เกิดตามเส้นแขนงใบทั่วตลอดทั้งแผ่นใบด้านล่าง (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Gangmin, Z. and T.A. Ranker. (2013). Pteridaceae (Parahemionitis). In Flora of China Vol. 2–3: 235. |
| Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M and K. Iwatsuki. (1985). Parkeriaceae (Hemionitis arifolia). In Flora of Thailandnd Vol. 3(2): 191–192. |