Index to botanical names
Menyanthaceae
ไม้น้ำล้มลุก เหง้าลอยน้ำ มีไหลคล้ายก้านใบ ใบรูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ ยาว 3–18 ซม. เส้นแขนงใบรูปฝ่ามือเห็นไม่ชัดเจน แผ่นใบด้านล่างมีต่อมหนาแน่น ก้านใบยาว 1–2 ซม. ดอกออกตามข้อ รูปกงล้อ สีขาว โคนกลีบด้านในมีสีเหลือง ก้านดอกยาว 3–5 ซม. กลีบเลี้ยง 5–8 กลีบ แยกจรดโคน รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 3–6 มม. ปลายมน กลีบดอก 5–8 กลีบ รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว 0.7–1.2 ซม. มีขนยาวเป็นชายครุยหนาแน่น เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดภายในหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูรูปแถบ ยาวประมาณ 1.5 มม. มีต่อมน้ำต้อย 5 ต่อมที่โคนรังไข่ ยอดเกสรเพศเมียแยก 2 แฉก ผลรูปรี ยาว 3–5 ซม. เมล็ดกลม เยื่อหุ้มเมล็ดเรียบพบที่อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทั่วทุกภาค ขึ้นตามหนองน้ำที่โล่ง และนาข้าวสกุล Nymphoides Ség. บางครั้งอยู่ภายใต้วงศ์ Gentianaceae มีประมาณ 40 ชนิด พบทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในไทยมี 7–8 ชนิด ชื่อสกุลหมายถึงคล้ายกับสกุล Nymphaea วงศ์ Nymphaeaceae
ชื่อพ้อง Menyanthes indica L.
ชื่ออื่น ตับเต่าใหญ่, บัวบา, บา (ภาคกลาง); ผักเต่า (สุพรรณบุรี); ผักเต่าใหญ่ (ภาคกลาง); ผักนองม้า (สุรินทร์); อีบา (ภาคกลาง); อีแปะภู (เลย)
บัวบา: ไม้น้ำ เหง้าลอยน้ำ ไหลคล้ายก้านใบ เส้นแขนงใบรูปฝ่ามือเห็นไม่ชัดเจน ดอกออกตามข้อ รูปกงล้อ สีขาว โคนกลีบด้านในมีสีเหลือง กลีบดอก 5–8 กลีบ มีขนยาวเป็นชายครุยหนาแน่น (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Ho, T.N. and R. Ornduff. (1995). Menyanthaceae. In Flora of China Vol. 10: 140–141.