สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



กูดโยง
วันที่ 1 กรกฎาคม 2559

Nephrolepis radicans (Burm.f.) Kuhn

Lomariopsidaceae

เฟินอิงอาศัย แทงไหลยาวเลื้อยพันต้นไม้อื่น รากคล้ายเส้นลวด เหง้าสั้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 3–5 มม. มีเกล็ดสีน้ำตาลคล้ำหนาแน่น ยาวประมาณ 3 มม. โคนกลมกว้าง แนบชิดเหง้า ปลายเรียวแคบ ใบประกอบชั้นเดียว ก้านใบยาว 5–20 ซม. มีเกล็ดประปราย แผ่นใบรูปแถบ โ คบและปลายเรียวแคบ กว้าง 6–8 ซม. ยาว 50–80 ซม. ใบย่อยมี 20–40 คู่ รูปเคียว กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 3–4 ซม. โคนมนหรือตัด เป็นติ่งหูด้านเดียว ขอบจัก กลุ่มอับสปอร์กลม เรียงชิดขอบใบด้านละแถว มีเยื่อคลุม

พบที่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา ภูมิภาคมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี และหมู่เกาะนิวแคลิโดเนีย ในไทยพบทางภาคใต้ตอนล่างที่นราธิวาส ยะลา ขึ้นตามป่าดิบชื้นความสูงระดับต่ำ ๆ และป่าพรุ

สกุล Nephrolepis Schott เคยอยู่ภายใต้วงศ์ Oleandraceae หรือ Davalliaceae มีประมาณ 30 ชนิด พบทั่วไปในเขตร้อน ในไทยมี 8 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “nephros” ไต และ “lepis” เกล็ด ตามลักษณะของเกล็ด

ชื่อพ้อง  Polypodium radicans Burm.f.

ชื่ออื่น   กูดโยง (Narathiwat); ปากูลาก๊ะ (Malay-Narathiwat)

กูดโยง: เฟินอิงอาศัย ใบย่อยโค้งรูปเคียว โคนเป็นติ่งหูด้านเดียว กลุ่มอับสปอร์กลม เรียงชิดขอบใบด้านละแถว (ภาพ: ผาทิพย์ ช่วยเนียม)

เอกสารอ้างอิง

Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/

Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1989). Oleandraceae (Nephrolepis). In Flora of Thailand 3(2): 170–178.

ปากูลาก๊ะ
วันที่ 1 กรกฎาคม 2559

Nephrolepis radicans (Burm.f.) Kuhn

Lomariopsidaceae

ดูที่ กูดโยง