สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

เม็ดชุนตัวผู้
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา

เส่ข่อโผ่
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา

เอี้ยบ๊วย
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา

ตุด
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา

ถั่ว
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา

ฤๅษีเสก
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา



ส้มสา
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. แยกเพศต่างต้น มีขนสั้นนุ่มและต่อมสีเหลืองตามกิ่งอ่อน ก้านใบ แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอก และใบประดับ ใบเรียงเวียน รูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ ยาว 6–17 ซม. โคนสอบหรือรูปหัวใจแคบ ก้านใบสั้นหรือยาวได้ถึง 2 ซม. ช่อดอกแบบหางกระรอกออกตามซอกใบ ดอกขนาดเล็ก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ยาว 3–9 ซม. แยกแขนงสั้น ๆ ยาวประมาณ 1 ซม. ก้านช่อสั้น เกสรเพศผู้ 3–7 อัน ช่อดอกเพศเมียยาว 4–8 ซม. ดอกออกหนาแน่น ติดบนกลีบประดับขนาดเล็ก 2 อัน มี 2 คาร์เพล เชื่อมติดกันคล้ายมีช่องเดียว มีขนละเอียด ยอดเกสร 2 อัน สีแดง ผลสดผนังชั้นในแข็ง รูปรีกว้างเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 ซม. ผิวมีปุ่มกระจาย สุกสีแดง มีเมล็ดเดียว

พบในจีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่า ที่โล่งในป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 2400 เมตร ผลช่วยย่อยและเป็นยาระบาย สารสกัดจากเปลือกแก้ไข้ แก้เจ็บคอ หืดหอบ

สกุล Myrica L. มีประมาณ 35 ชนิด พบในเอเชีย อเมริกา ยุโรป แอฟริกา ในไทยมีชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “myrike” หอม หมายถึงพืชที่มีกลิ่นหอม

ชื่อสามัญ  Bayberry, Box myrtle

ชื่ออื่น   ตุด (พังงา); ถั่ว, ฤๅษีเสก, หว้าโละ (ชัยนาท); เม็ดชุนตัวผู้ (พังงา); ส้มสา, ส้มส้า, อินสัมปัดถา (เลย); เส่ข่อโผ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); หมากหม่อนอ่อน (เงี้ยว-เชียงใหม่); เอี้ยบ๊วย (ภาษาจีน)

ส้มสา: ใบเรียงเวียน ช่อดอกแบบหางกระรอกออกตามซอกใบ ผลสด รูปรีกว้าง ผิวมีปุ่มกระจาย สุกสีแดง (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Larsen, K. (2000). Myricaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(2): 268–270.

Lu, A. and A.J. Bornstein. (1999). Myricaceae. In Flora of China Vol. 4: 275.

ส้มส้า
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา

หมากหม่อนอ่อน
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา

หว้าโละ
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา

อินสัมปัดถา
วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

Myrica esculenta Buch.-Ham. ex D.Don

Myricaceae

ดูที่ ส้มสา