| ไม้ล้มลุกแตกหน่อ สูง 0.5–2 ม. ลำต้นเทียมเส้นผ่านศูนย์กลาง 8–10 ซม. มีปื้นสีม่วงทั่วไป ใบกว้าง 25–35 ซม. ยาว 90–150 ซม. ก้านใบยาว 30–70 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นกลางใบเป็นร่อง ช่อดอกตั้งตรง ยาวได้ถึง 1 ม. มีขนหนาแน่น ใบประดับรูปขอบขนาน สีม่วงอมชมพู ยาวได้ถึง 15 ซม. ดอกเพศเมียเรียงเป็นกระจุก 3–8 แถว แถวละ 2–4 ดอก กลีบรวมที่เชื่อมติดกันแยกจรดโคนด้านหนึ่ง ปลายจักเป็น 5 แฉก ตื้น ๆ ผลตรง ยาวได้ถึง 10 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–2.5 ซม. มี 3–4 เหลี่ยม ก้านผลยาว 1–2 ซม. ผลอ่อนมีขนกระจาย เมล็ดกลมหรือรี แบน ๆ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ กล้วย, สกุล)
พบที่คาบสมุทรมลายู และภาคใต้ตอนล่างของไทยที่ยะลา และนราธิวาส ขึ้นริมลำธารในป่าดิบชื้น ความสูง 50–300 เมตร
| | | | ชื่ออื่น กล้วยป่า (ทั่วไป); ปิซังกะแต, ปิซังเวก, ปิซังโอนิก (มาเลย์-ภาคใต้)
| | กล้วยม่วง: ถิ่นที่อยู่ริมลำธารในป่าดิบชื้น ช่อดอกตั้งขึ้นยาวได้ถึง 1 เมตร ใบประดับสีม่วงอมชมพู ดอกย่อยเรียงเป็นแถว (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์, ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | ราชบัณฑิตยสถาน. (2547). อนุกรมวิธานพืชอักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. ราชบัณฑิตยสถาน,
กรุงเทพฯ. |
| Cheesman, E.E. (1949). The classification of the bananas. Kew Bulletin 1949: 265–267. |
| Cheesman, E.E.Cheesman, E.E. (1950). Classification of the Bananas. Kew Bulletin 5: 154. |
| Joe, A., P.E. Sreejith and M. Sabu. (2016). Notes on Musa rubra Kurz (Musaceae) and reduction of M. laterita Cheesman as conspecific. |
| Liu, A.Z., W.J. Kress and D.Z. Li. (2010). Phylogenetic analyses of the banana family (Musaceae) based on nuclear ribosomal (ITS) and chloroplast (trnL-F) evidence. Taxon 59(1): 20–28. |
| Staples, G.W. and D.R. Herbst. (2005). A tropical garden flora. Bishop Museum Press, Honolulu, Hawai`i. |
| Wu, D. and W.J. Kress. (2000). Musaceae. In Flora of China Vol. 24: 314–315. |