| กล้วย สกุล
| | | วันที่ 31 มีนาคม 2559 |
| |
ไม้ล้มลุกอายุหลายปีหรือออกผลครั้งเดียว (monocarpic) เจริญด้านข้างจากเหง้า ลำต้นเทียมประกอบด้วยกาบใบ ใบขนาดใหญ่ ก้านใบยาว ช่อดอกหรือปลีกล้วยออกที่ยอดตั้งขึ้นหรือห้อยลง ใบประดับหลากสี ช่วงโคนเป็นดอกเพศเมียที่เกสรเพศผู้เป็นหมันหรือดอกสมบูรณ์เพศ ช่วงปลายเป็นดอกเพศผู้ที่เกสรเพศเมียเป็นหมัน ดอกส่วนมากเรียง 1–2 แถว กลีบรวมไม่สมมาตร เรียง 2 วง ๆ ละ 3 กลีบ วงใน 1 กลีบแยกออก 2 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด แยกจรดโคนด้านเดียว ปลายจักตื้น ๆ 5 จัก เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่ใต้วงกลีบ มี 3 ช่อง ออวุลจำนวนมาก ติดแบบคว่ำ พลาเซนตารอบแกน ผลสดมีหลายเมล็ด เมล็ดแข็ง
สกุล Musa เป็นหนึ่งในสองสกุลของวงศ์ อีกสกุลคือ Ensete ส่วนสกุล Musella ถูกยุบให้อยู่ภายใต้สกุล Ensete สกุล Musa มีประมาณ 30 ชนิด ส่วนมากพบในเอเชียเขตร้อน ในไทยมีพืชพื้นเมืองประมาณ 10 ชนิด ส่วนกล้วยที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ ส่วนมากเกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์หรือผสมข้ามระหว่างกล้วยป่า M. acuminata Colla กับกล้วยตานี M. balbisiana Colla กล้วยเหล่านี้ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหก กล้วยหอม และกล้วยหักมุก เป็นต้น ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “mauz” ซึ่งแปลว่ากล้วยในภาษาอาหรับ
| | | | | | |
|
เอกสารอ้างอิง | ราชบัณฑิตยสถาน. (2547). อนุกรมวิธานพืชอักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. ราชบัณฑิตยสถาน,
กรุงเทพฯ. |
| Cheesman, E.E. (1949). The classification of the bananas. Kew Bulletin 1949: 265–267. |
| Cheesman, E.E.Cheesman, E.E. (1950). Classification of the Bananas. Kew Bulletin 5: 154. |
| Joe, A., P.E. Sreejith and M. Sabu. (2016). Notes on Musa rubra Kurz (Musaceae) and reduction of M. laterita Cheesman as conspecific. |
| Liu, A.Z., W.J. Kress and D.Z. Li. (2010). Phylogenetic analyses of the banana family (Musaceae) based on nuclear ribosomal (ITS) and chloroplast (trnL-F) evidence. Taxon 59(1): 20–28. |
| Staples, G.W. and D.R. Herbst. (2005). A tropical garden flora. Bishop Museum Press, Honolulu, Hawai`i. |
| Wu, D. and W.J. Kress. (2000). Musaceae. In Flora of China Vol. 24: 314–315. |