Index to botanical names
Commelinaceae
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 ม. ใบรอบโคนต้นรูปแถบ ยาวได้ถึง 50 ซม. ใบตามลำต้นสั้น ยาว 5–7 ซม. โคนเป็นกาบหุ้มลำต้น<ฝb> ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ ที่ยอด แยกแขนง ใบประดับคล้ายใบ ช่อย่อยมี 1–2 ช่อ ยาวได้ถึง 7 ซม. ก้านช่อยาวประมาณ 3 ซม. ดอกจำนวนมาก มีเมือก ดอกร่วงทิ้งรอยชัดเจน ใบประดับย่อยโปร่งใส<ฝb> รูปไข่ ยาวประมาณ 5 มม. ก้านดอกยาว 5–8 มม. กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 5–8 มม. ดอกสีม่วงอ่อนหรือเข้ม รูปไข่กลับ ยาว 0.8–1.5 ซม. กลีบบนขนาดเล็กกว่ากลีบข้างเล็กน้อย เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 2 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 0.6–1.2 ซม. กางโค้งออก โคนมีขนเครา อับเรณูสีเทารูปรี ยาวประมาณ 2 มม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 4 อัน ยาวไม่เท่ากัน ยาว 4–8 มม. มีขนยาวช่วงบน ก้านเกสรเพศเมียยาว 3–4 มม. ผลรูปไข่ ยาว 0.5–1 ซม. เมล็ดยาวประมาณ 3 มม.พบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ออสเตรเลีย ในไทยพบทุกภาค โดยเฉพาะตามทุ่งหญ้าที่โล่งในป่าผลัดใบหรือป่าสนเขา ความสูงถึงประมาณ 1400 เมตร
ชื่อพ้อง Commelina gigantea Vahl
ชื่ออื่น น้ำค้างกลางเที่ยง (สุราษฎร์ธานี); ว่านมูก (หนองคาย); ไส้เอียน, หงอนพญานาค, หญ้าหงอนเงือก (เลย)
หญ้าหงอนเหงือก: ช่อดอกแบบช่อวงแถวเดี่ยว แยกแขนง ดอกสีม่วงอ่อนหรือเข้ม กลีบบนขนาดเล็กกว่ากลีบข้าง โคนก้านชูอับเรณูมีขนเครา (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Hong, D. and R.A. DeFilipps. (2000). Commelinaceae. In Flora of China Vol. 24: 25.
Thitimetharoch, T. (2004). Taxonomic studies of the family Commelinaceae in Thailand. PhD Thesis, Khon Kaen University.