| | Mucuna gigantea (Willd.) DC. |
|
ไม้เถา เกลี้ยงหรือมีขนกระจายตามกิ่ง ก้านใบ แผ่นใบ ช่อดอก ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 7–16 ซม. หูใบย่อยรูปแถบ ยาว 3–5 มม. ช่อดอกยาว 8–25 ซม. ดอกเรียงหนาแน่นคล้ายช่อซี่ร่มช่วงปลายช่อ แยกแขนงสั้น ๆ ก้านดอกยาวได้ถึง 2 ซม. ใบประดับรูปรีหรือรูปไข่แคบ ๆ ยาว 3–5 มม. ร่วงเร็ว ใบประดับย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 0.6–1.8 ซม. ติดทน กลีบเลี้ยงมีขนละเอียดและขนคันกระจาย หลอดกลีบยาว 0.8–1 ซม. กว้าง 1–1.5 ซม. แฉกรูปสามเหลี่ยม ยาว 1–3 มม. ดอกสีขาว มีสีเขียวอมเหลืองหรือชมพูแซม กลีบกลางส่วนมากยาว 2.5–3 ซม. กลีบปีกยาว 2.8–4 ซม. กลีบคู่ล่างยาวเท่า ๆ กลีบปีก ฝักแบน รูปขอบขนาน เบี้ยว ยาว 7–18 ซม. หนาประมาณ 5 มม. ขอบเป็นสันคล้ายปีกทั้งสองด้าน กว้าง 0.5–1 ซม. ผิวมีขนและขนคันแข็งกระจาย ฝักแก่เกลี้ยง ผิวมีลายเส้นละเอียด มี 1–4 เมล็ด รูปรี ยาว 2–3 ซม.
พบที่อินเดีย ไห่หนาน ไต้หวัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยส่วนมากพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามชายฝั่งทะเล ที่ลุ่มมีน้ำขัง และริมแม่น้ำ ความสูงระดับต่ำ ๆ แยกเป็นชนิดย่อย subsp. plurisemina Verdc. ผลเรียวแคบกว่า มี 5–6 เมล็ด พบเฉพาะที่ฟิลิปปินส์ และนิวกินี
| ชื่อพ้อง Dolichos giganteus Willd.
| | ชื่อสามัญ Burny vine, Sea bean
| ชื่ออื่น กระเจี๊ยบ, สะบ้าลิงลาย, หมามุ่ย, หมามุ่ยช้าง (ภาคกลาง)
| | หมามุ่ยช้าง: ดอกเรียงหนาแน่นคล้ายช่อซี่ร่มช่วงปลายช่อ ฝักแบนหนา รูปขอบขนาน หนาประมาณ 5 มม. ขอบเป็นสันคล้ายปีกทั้งสองด้าน มีขนสีน้ำตาลหนาแน่นและขนคันแข็งกระจาย (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Sa, R. and C.M. Wilmot-Dear. (2010). Fabaceae (Mucuna). In Flora of China Vol. 10: 207, 213, 217. |
| Wilmot-Dear, C.M. (2008). Mucuna Adans. (Leguminosae) in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 36: 114–139. |
| Wilmot-Dear, C.M. (1992). A revision of Mucuna (Leguminosae: Phaseoleae) in Thailand, Indochina and the Malay Peninsula. Kew Bulletin 47(2): 203–245. |