| ไม้เถา มีขนสั้นนุ่มทั่วไป หูใบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2–6 มม. มีขนแข็ง 2 เส้น ยาวประมาณ 1 มม. ใบรูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ ยาว 6–9 ซม. ปลายแหลมยาวหรือเป็นติ่งแหลม โคนแหลมหรือเรียวสอบ มักมีตุ่มใบเป็นขนยาว ก้านใบยาว 4–6 มม. ก้านช่อยาว 1–1.5 ซม. ช่อดอกย่อยมี 3–11 ช่อ ติดแบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อย่อยยาว 0.4–1.2 ซม. ใบประดับรูปเส้นด้ายขนาดเล็ก ช่อกระจุกกลมหรือแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีดอกย่อย 6–12 ดอก ดอกรูประฆัง หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 มม. ด้านในมีขนยาว มี 4–5 กลีบ รูปใบหอก ยาวประมาณ 3 มม. ปลายกลีบหนาเป็นตะขอสั้น ๆ ผลรวมเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7–1.2 ซม. ผลย่อยยาว 4–5 มม. เชื่อมติดกัน สุกสีส้มอมแดง
พบที่อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ภูมิภาคมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคเหนือ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น หรือเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ 1400 เมตร ในอินเดียผลดิบใช้ปรุงอาหาร ลำต้นใช้ทำเชือก ใบและรากใช้ฆ่าพยาธิ มีฤทธิ์เป็นยาสมาน แก้โรคท้องร่วง
| | | | | | ยอย่าน: ช่อผลย่อยติดแบบช่อซี่ร่ม มีขนสั้นนุ่ม ผลสุกสีส้มอมแดง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chen, T. and C.M. Taylor. (2011). Rubiaceae (Morinda). In Flora of China Vol. 19: 220, 223, 229. |
| Das, S.C. and M.A. Rahman. (2011). Taxonomic revision of the genus Morinda L. (Rubiaceae) in Bangladesh. Bangladesh Jornal of Botany 40(2): 113–120. |
| Kesonbua, W. and P. Chantaranothai. (2013). The genus Morinda (Rubiaceae) in Thailand. ScienceAsia 39: 331–339. |