| ยอป่า
| | | วันที่ 28 เมษายน 2560 |
| Morinda coreia Buch.-Ham. |
|
ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. หูใบยาว 0.8–1 ซม. ร่วงเร็ว ใบรูปรี ยาว 15–25 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนเรียวสอบ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ 7–12 เส้น มักมีตุ่มใบ ก้านใบยาว 1–3.5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 2–6 ซม. ดอกรูปดอกเข็ม หลอดกลีบดอกยาว 1.2–1.8 ซม. เกลี้ยงหรือมีขนประปราย มี 5–6 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 1–1.5 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1.2–1.5 ซม. และ 1.5–1.8 ซม. ช่อผลรูปรีหรือกลม ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางยาวได้ถึง 3 ซม. ผลย่อยจำนวนมากเชื่อมติดกัน
พบที่อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร อนึ่ง คล้ายกับยอป่าชนิด M. tomentosa B. Heyne ex Roth. และ M. pubescens Sm. บางข้อมูลระบุว่าทั้ง 3 ชนิด เป็นชนิดเดียวกัน ซึ่งชื่อที่ถูกต้องอาจเป็น M. pubescens Sm.
| ชื่อพ้อง Morinda tinctoria Roxb., M. tomentosa B.Heyne ex Roth
| | | ชื่ออื่น คุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); คุย (พิษณุโลก); โคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ยอป่า (ทั่วไป); สลักป่า, สลักหลวง (ภาคเหนือ)
| | ยอป่า: แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มหรือเกลี้ยง ก้านช่อดอกยาว ดอกรูปดอกเข็ม (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chen, T. and C.M. Taylor. (2011). Rubiaceae (Morinda). In Flora of China Vol. 19: 220, 223, 229. |
| Das, S.C. and M.A. Rahman. (2011). Taxonomic revision of the genus Morinda L. (Rubiaceae) in Bangladesh. Bangladesh Jornal of Botany 40(2): 113–120. |
| Kesonbua, W. and P. Chantaranothai. (2013). The genus Morinda (Rubiaceae) in Thailand. ScienceAsia 39: 331–339. |