ไม้เถา ยาวได้ถึง 20 ม. มีหัวใต้ดิน ใบเรียบ จัก 3–5 พู โคนเว้าตื้น กว้าง 7–16 ซม. หรือมี 3 ใบย่อย ขอบเรียบหรือจักฟันเลื่อยห่าง ๆ ก้านใบยาว 3–12 ซม. ช่อดอกเพศผู้ยาว 5–15 ซม. ใบประดับรูปคุ่ม ยาว 2–4 ซม. ด้านในมีขน ก้านดอกยาว 0.3–1.5 ซม. ฐานดอกรูปถ้วยตื้น ๆ สีดำ กว้าง 1–1.5 ซม. กลีบเลี้ยงยาว 1–1.5 ซม. ดอกสีครีม กลีบรูปรี ยาว 2.5–7 ซม. กลีบดอกที่ไม่มีแผ่นเกล็ดมีปื้นสีดำที่โคนกลีบด้านใน ก้านชูอับเรณูยาว 5–7 มม. อับเรณูยาวไม่เท่ากัน ปลายพอง โคนเป็นพูหนา ดอกเพศเมียก้านดอกยาว 3–10 ซม. ใบประดับรูปรี ยาวประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาว 0.4–1 ซม. รังไข่มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.6–1 ซม. ผลรูปรีเกือบกลม ยาว 6–20 ซม. มีตุ่มเป็นหนามอาจยาวได้ถึง 1 ซม. สุกสีแดงอมส้ม ก้านผลยาว 3–12 ซม. เมล็ดแบน ยาว 1.5–3 ซม. มีปุ่มกระจาย
พบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ออสเตรเลีย ขึ้นตามชายป่าหรือเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร ผลอ่อน ใบอ่อน และดอกกินได้ เยื่อหุ้มเมล็ดมีสารไลโคปีน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมล็ดให้น้ำมัน
|
ชื่อพ้อง Muricia cochinchinensis Lour.
|
|
ชื่อสามัญ Baby jackfruit, Gac, Red melon, Spiny bitter gourd, Sweet gourd
|
ชื่ออื่น ขี้กาเครือ (ปัตตานี); ผักข้าว (ภาคเหนือ); พุคู้เด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ฟักข้าว (ภาคกลาง)
|
|
ฟักข้าว: ใบจักเป็นพูหรือมี 3 ใบย่อย ดอกเพศผู้ออกเดี่ยว ๆ ใบประดับรูปคุ่ม ติดทน ผลมีตุ่มเป็นหนามหนาแน่น (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ราชันย์ ภู่มา)
|
|