| | Miliusa velutina (Dunal) Hook.f. & Thomson |
|
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. มีขนสั้นนุ่มตามกิ่ง แผ่นใบ ก้านใบ ก้านช่อ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกด้านนอก ใบเรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาว 8–30 ซม. โคนเว้าตื้น เบี้ยว ก้านใบยาว 2–7 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกออกตรงข้ามใบหรือบนกิ่ง มี 3–6 ดอก ในแต่ละช่อ ห้อยลง ก้านช่อยาวได้ถึง 2.5 ซม. ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ก้านดอกยาว 5–10 ซม. ฐานดอกมีขน กลีบเลี้ยงสีน้ำตาล มี 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมยาว 2–8 มม. กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบวงนอกสั้น คล้ายกลีบเลี้ยง กลีบวงในสีน้ำตาลเหลืองอมเขียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาว 1–1.8 ซม. พับงอกลับ มีก้านสั้น ๆ เกสรเพศผู้จำนวนมาก เรียงห่าง ๆ อับเรณูมีรยางค์สั้น ๆ เป็นติ่งแหลม คาร์เพลจำนวนมาก มีขนสั้นนุ่ม ยอดเกสรเพศเมียรูปกระบอง ผลย่อยแยกกัน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2 ซม. ก้านยาว 5–8 มม. สุกสีแดงอมน้ำตาล มี 1–2 เมล็ด
พบที่อินเดีย ปากีสถาน พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 500 เมตร เปลือกเป็นยาระบาย
สกุล Miliusa Lesch. ex A.DC. อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Malmeoideae เผ่า Miliuseae พบในเอเชียเขตร้อน ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก มีประมาณ 50 ชนิด ในไทยมีประมาณ 20 ชนิด ชื่อสกุลอาจตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาลี Josephus Mylius หรือ Joannes Mylius หรือมาจากชื่อพื้นเมืองในอินเดีย
| ชื่อพ้อง Uvaria velutina Dunal, U. villosa Roxb.
| | | ชื่ออื่น โกงกาง (ภาคตะวันออก);
ขางหัวหมู (ภาคเหนือ); จอแจ (ภาคตะวันออก); โจรเจ็ดนาย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); เต็งใบใหญ่ (ภาคตะวันตกฉียงใต้); แตงแซง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); บังรอก (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); ยางโดน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); สะแม้ะ (ส่วย-สุรินทร์); หัวใจไมยราบ, หางค่าง (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); หางรอก (ภาคเหนือ); หำรอก (ภาคตะวันตกเฉียงใต้)
| | ขางหัวหมู: ช่อดอกห้อยลง กลีบดอกด้านในขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกด้านนอก ผลแบบผลกลุ่ม ก้านช่อยาว ผลย่อยมีก้าน สุกสีแดงอมน้ำตาล (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา, ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chaowasku, T. and P.J.A. Keßler. (2013). Seven new species of Miliusa (Annonaceae) from Thailand. Nordic Journal of Botany 31(6): 680–699. |
| Chaowasku, T. and P.J.A. Keßler. (2013). Phylogeny of Miliusa (Magnoliales: Annonaceae: Malmeoideae: Miliuseae), with descriptions of two new species from Malesia. European Journal of Taxonomy 54: 1–21. |
| Li, B. and M.G. Gilbert. (2011). Annonaceae. In Flora of China Vol. 19: 680. |