Index to botanical names
Fabaceae
ไม้เถา ยาวได้ถึง 5 ม. มีมือจับ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 4–15 ซม. ปลายแหลมยาว โคนกลมหรือเว้าตื้น เส้นแขนงใบข้างละ 3–5 เส้น คู่ล่างออกชิดโคน ปลายโค้งจรดกัน ก้านใบยาว 2–3.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 1 ม. ใบประดับรูปลิ่มติดทน ยาวได้ถึง 1 ซม. หลอดกลีบเลี้ยง สีชมพูอ่อนหรือแดง รูปถ้วย ยาว 0.5–1 ซม. ดอกสีแดงถึงแดงเข้ม กลีบรูปไข่กลับ ยาว 1.2–1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านชูอับเรณูสีแดง ยื่นพ้นหลอดกลีบดอก เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 7 อัน ยาวไม่เท่ากัน รังไข่มีขนสั้น ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 7 มม. ยอดเกสรเพศเมียไม่ชัดเจน ฝักรูปใบหอก ยาว 15–16 ซม. ปลายมีจะงอย มี 8–9 เมล็ด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อรพิม, สกุลพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นหนาแน่นหรือกระจายห่าง ๆ ในป่าเบญจพรรณหรือที่โล่ง ความสูงถึงประมาณ 300 เมตร ในทางสมุนไพรรู้จักกันในชื่อย่านางแดง เนื่องจากมีสรรพคุณคล้ายกับ ย่านาง Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ใช้ถอนพิษ แก้ไข้
ชื่อพ้อง Bauhinia strychnifolia Craib
ชื่ออื่น ขยัน, เครือขยัน (ภาคเหนือ); ย่านางแดง, หญ้านางแดง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); สยาน (ลำปาง, ตาก)
ขยัน: ถิ่นที่อยู่ตามที่โล่งที่แห้งแล้ง ขึ้นหนาแน่น ช่อดอกแบบช่อกระจะ เกสรเพศผู้ยื่นพ้นหลอดกลีบดอก ฝักรูปใบหอก ปลายมีจะงอย (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Larsen, K. and S.S. Larsen. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 24.