สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

กูดดำ
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Lindsaea ensifolia Sw.

Lindsaeaceae

ดูที่ หางกะลิง



หางกะลิง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560

Lindsaea ensifolia Sw.

Lindsaeaceae

เฟินขึ้นบนพื้นดิน เหง้าทอดนอน ยาว 3–5 ม. ปลายยอดมีเกล็ดสีน้ำตาลหนาแน่น รูปแถบ ยาวประมาณ 2.5 มม. ใบประกอบชั้นเดียว หรือเป็นใบเดี่ยว รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ก้านใบยาว 10–50 ซม. เปราะ ใบเดี่ยวส่วนมากรูปไข่ ปลายแหลมยาว ใบประกอบใบย่อยมี 2–7 คู่ รูปใบหอกหรือรูปแถบ ยาวได้ถึง 20 ซม. กว้าง 0.5–2 ซม. ปลายแหลมยาวคล้ายหาง โคนรูปลิ่ม มน หรือกลม ขอบเรียบ เส้นใบแบบร่างแห เรียงจรดกัน 2–4 แถว ก้านใบย่อยสั้นมาก กลุ่มอับสปอร์เกิดเป็นแถวบริเวณขอบใบ มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์

พบที่แอฟริกา อินเดีย เนปาล ศรีลังกา บังกลาเทศ จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1400 เมตร

สกุล Lindsaea Dryand. ex Sm. มีประมาณ 200 ชนิด พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ในไทยมี 19 ชนิด ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวจาเมกา John Lindsay (1785–1803)

ชื่อสามัญ  Graceful necklace fern

ชื่ออื่น   กูดดำ (เพชรบูรณ์); หางนกกะลิง (จันทบุรี)

หางกะลิง: ใบประกอบชั้นเดียว หรือเป็นใบเดี่ยว เส้นใบแบบร่างแห เรียงจรดกัน 2–4 แถว ก้านใบย่อยสั้นมาก กลุ่มอับสปอร์เกิดเป็นแถวบริเวณขอบใบ (ภาพ: ผาทิพย์ ช่วยเนียม)

เอกสารอ้างอิง

Dong, S., S. Lin, M.J.M. Christenhusz and J. Barcelona. (2013). Lindsaeaceae. In Flora of China Vol. 2–3: 143.

Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/

Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1985). Lindsaeaceae. In Flora of Thailand 3(2): 131.