สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



กะตังใบ
วันที่ 29 เมษายน 2559

Leea indica (Burm.f.) Merr.

Vitaceae

ไม้พุ่ม รอเลื้อย หรือไม้ต้น สูงได้ถึง 7 ม. กิ่งมีช่องอากาศ หูใบมีปีกรูปไข่กลับ ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประกอบ 1–3 ชั้น ใบประกอบย่อยมีได้ถึง 4 คู่ แกนกลางยาว 9–70 ซม. ก้านยาว 7–34 ซม. ใบย่อยรูปไข่ แกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาวได้ถึง 30 ซม. ขอบจักซี่ฟัน ก้านใบยาว 0.2–2 ซม. ช่อดอกส่วนมากยาวได้ถึง 27 ซม. แผ่กว้าง ก้านช่อยาวได้ถึง 10 ซม. ดอกสีเขียวอ่อนหรืออมเหลือง ก้านดอกยาว 0.5–1.5 มม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วยยาวประมาณ 2 มม. ปลายจักตื้น ๆ กลีบดอกยาว 3–4 มม. แฉกลึกประมาณกึ่งหนึ่ง หลอดเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาว 1.2–2.2 มม. โคนแยกกัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1–2 มม. ผลจักเป็นพูเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.9–1 ซม. ผลแก่สีน้ำตาลแดง

พบตั้งแต่อินเดีย ถึงออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค ขึ้นหลากหลายสภาพป่า ความสูงถึงประมาณ 2000 เมตร คล้ายกับ กระตังใบแดง L. rubra Blume และ L. guineensis G.Don ซึ่งทั้งสองชนิดมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีแดง

ชื่อสามัญ  Common tree-vine

ชื่ออื่น   กะตังใบ (ทั่วไป); คะนางใบ (ตราด); ช้างเขิง (เงี้ยว); ดังหวาย (นราธิวาส); ตองจ้วม, ตองต้อม (ภาคเหนือ); บังบายต้น (ตรัง)

กะตังใบ: กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเขียว ผลกลมหรือจักเป็นพูเล็กน้อย (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Chen, Z. and J. Wen. (2007). Leeaceae. In Flora of China Vol. 12: 169–170.

van Welzen, P.C. (2010). Leeaceae. In Flora of Thailand Vol. 10(2): 209–230.

คะนางใบ
วันที่ 29 เมษายน 2559

Leea indica (Burm.f.) Merr.

Vitaceae

ดูที่ กะตังใบ

ช้างเขิง
วันที่ 29 เมษายน 2559

Leea indica (Burm.f.) Merr.

Vitaceae

ดูที่ กะตังใบ

ดังหวาย
วันที่ 29 เมษายน 2559

Leea indica (Burm.f.) Merr.

Vitaceae

ดูที่ กะตังใบ

ตองจ้วม
วันที่ 29 เมษายน 2559

Leea indica (Burm.f.) Merr.

Vitaceae

ดูที่ กะตังใบ

ตองต้อม
วันที่ 29 เมษายน 2559

Leea indica (Burm.f.) Merr.

Vitaceae

ดูที่ กะตังใบ

บังบายต้น
วันที่ 29 เมษายน 2559

Leea indica (Burm.f.) Merr.

Vitaceae

ดูที่ กะตังใบ