Index to botanical names
Lythraceae
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 20–35 ม. เปลือกนอกสีน้ำตาลถึงเทาเข้ม แตกตามยาว มีขนรูปดาวและขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอก กลีบเลี้ยงด้านนอก รังไข่ และผลอ่อน ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 7–18 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนมนหรือกลม ก้านใบยาว 4–8 มม. ช่อดอกส่วนมากออกที่ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 40 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงยาว 3–4 มม. มีประมาณ 12 สัน ปลายแยกเป็นรูปสามเหลี่ยม 5–6 แฉก ยาวประมาณ 3 มม. ด้านนอกมีขนหนาแน่น ด้านในเกลี้ยง ติดทน ดอกสีขาวหรืออมม่วงอ่อน มี 5–6 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1–1.5 ซม. รวมก้านกลีบที่ยาว 3–5 มม. ขอบเป็นคลื่น แผ่นกลีบย่น เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 6–7 อัน ยาวและหนา ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1.5 ซม. ผลแห้งแตกเป็น 6 ซีก รูปขอบขนาน ยาว 1–1.7 ซม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ตะแบก, สกุล)พบที่จีนตอนใต้ พม่า เวียดนาม ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ความสูงถึงประมาณ 1150 เมตร
ชื่ออื่น จะวอ, จูดอ, ชวง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ฉ่วงฟ้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); เบาะโยง, เบาะสะแอน, เบาะเส้า (เชียงราย); เปื๋อยขาว, เส้า, เส้าขาว, เส้าเบาะ, เส้าหลวง (ภาคเหนือ); เสลา (ราชบุรี, สระบุรี); เสลาขาว (ราชบุรี); เสลาเปลือกบาง (กำแพงเพชร)
เสลาขาว: ช่อดอกส่วนมากออกที่ปลายกิ่ง ผลแห้งแตกเป็น 6 ซีก (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
de Wilde, W.J.J.O., B.E.E. Duyfjes and P. Phonsena. (2014). Lythraceae. In Flora of Thailand Vol. 11(4): 576–579.