| | Lagerstroemia cochinchinensis Pierre |
|
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. เปลือกบาง มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงตามใบอ่อน เส้นแขนงใบด้านล่าง ช่อดอก และหลอดกลีบเลี้ยงด้านนอก กิ่งด้านข้างมักเปลี่ยนรูปเป็นหนาม ใบรูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ ยาว 4–15 ซม. ก้านใบยาว 0.2–1 ซม. ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 30 ซม. ก้านดอกเทียมยาวประมาณ 2 มม. ขยายในผลเล็กน้อย หลอดกลีบเลี้ยงเรียบ ยาวประมาณ 8 มม. กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาว 3–4 มม. ด้านในปลายกลีบมีขน ดอกสีชมพู ม่วง หรืออมขาว กลีบรูปรีกว้างเกือบกลม ยาว 1.5–3 ซม. รวมก้านกลีบที่ยาวประมาณ 5 มม. เกสรเพศผู้วงนอก 6 อัน รังไข่มีขนสีขาว ผลรูปรีเกือบกลม ยาว 1.4–1.7 ซม. เกลี้ยงหรือมีขนช่วงปลายผล
พบที่ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร
| ชื่อพ้อง Lagerstroemia collinsae Craib
| | | ชื่ออื่น โคะกางแอ้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); ตะแบกเกรียบ (ชลบุรี, นครราชสีมา); ตะแบกเกรียบแดง (ราชบุรี); เปื๋อยกะแอ่ง (สุโขทัย); เปื๋อยแดง, เปื๋อยเปลือกบาง, เปื๋อยแมว (ภาคเหนือ); เปื๋อยลอกเปลือก (แพร่); ลิงง้อ (จันทบุรี)
| | ตะแบกเกรียบ: มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงตามช่อดอก หลอดกลีบเลี้ยงด้านนอก ปลายกลีบด้านใน และปลายผล หลอดกลีบเลี้ยงเรียบ (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | de Wilde, W.J.J.O., B.E.E. Duyfjes and P. Phonsena. (2014). Lythraceae. In Flora of Thailand Vol. 11(4): 553–580. |
| Furtado, C.X. (1969). A revision of Lagerstroemia L. (Lythraceae). Gardens’ Bulletin Singapore 24: 185–335. |
| Qin, H., S.A. Graham and M.G. Gilbert. (2007). Lythraceae (Lagerstroemia). In Flora of China Vol. 13: 277–281. |