| | Kopsia fruticosa (Roxb.) A.DC. |
|
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น แตกกิ่งหนาแน่น สูงได้ถึง 6 ม. มีขนละเอียดตามกิ่งอ่อนและช่อดอก ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 5–22 ซม. ปลายเแหลมยาว โคนมนหรือรูปลิ่ม ก้านใบยาว 0.5–1.2 ซม. ช่อดอกยาว 5–10 ซม. ก้านดอกยาว 2–5 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายมน ยาว 1.5–2.5 มม. ขอบมีขนอุย ดอกสีขาวอมชมพู ปากหลอดกลีบมีสีเข้ม หลอดกลีบยาว 2.5–3.5 ซม. ด้านในมีขน กลีบดอกรูปรี ปลายกลีบกลม ยาว 1–3.3 ซม. เกสรเพศผู้ติดเหนือกึ่งกลางหลอดกลีบดอก อับเรณูยาว 2–2.5 มม. รังไข่มีขนหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียยาว 2–3.2 ซม. รวมยอดเกสร ผลรูปเคียวแกมรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.7 ซม. มีเดือยหนาคล้ายตะขอ
มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของพม่า ในไทยพบเฉพาะเป็นไม้ประดับในชื่อ อุนากรรณ มักสับสนกับพุดชมพูอีกชนิด K. rosea D.J.Middleton ที่กิ่ง ช่อดอก และรังไข่เกลี้ยง
| ชื่อพ้อง Cerbera fruticosa Roxb.
| | ชื่อสามัญ Pink Kopsia
| ชื่ออื่น ตึ่งตาใส (ภาคเหนือ); พุดชมพู, อุนากรรณ (กรุงเทพฯ)
| | พุดชมพู: ช่อดอกแบบช่อกระจุกซ้อน มีขนละเอียด ปลายกลีบเลี้ยงมน ดอกสีขาวอมชมพู ปากหลอดมีสีเข้ม (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Li, B., A.J.M. Leeuwenberg and D.J. Middleton. (1995). Apocynaceae. In Flora of China Vol. 16: 162–163. |
| Middleton, D.J. (2004). A revision of Kopsia (Apocynaceae: Rauvolfioideae). Harvard Papers in Botany 9(1): 89–142. |
| Middleton, D.J. (1999). Apocynaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(1): 60–64. |