| ไม้ต้น อาจสูงได้ถึง 45 ม. ในถิ่นกำเนิด ลำต้นและกิ่งมีหนามกระจาย หูใบรูปใบหอก ยาว 0.7–1.5 ซม. ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปใบโพ ยาว 7–21 ซม. ขอบจักฟันเลื่อยห่าง ๆ แผ่นใบมีขนตามเส้นกลางใบด้านล่าง ก้านใบยาว 6–22 ซม. มีต่อมหนึ่งคู่ ช่อดอกเพศผู้แบบช่อหางกระรอก ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ ที่โคนช่อ สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีแดง ช่อดอกเพศผู้ยาว 1.5–4.5 ซม. ก้านช่อหนา ยาว 1.2–8 ซม. ใบประดับเป็นแผ่นคล้ายกาบหุ้ม ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. เกสรเพศผู้มี 10–20 อัน เรียง 2–3 วง ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกัน ดอกเพศเมียก้านดอกยาวประมาณ 1.2 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาว 5–8 มม. มี 5–20 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียยาว 2–3.5 ซม. ยอดเกสรแยกเป็นแฉกแผ่ออก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4–2.6 ซม. ผลแห้งแตกเป็นซีก ๆ กลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 ซม. สูง 3–5 ซม. ผนังแข็ง เมล็ดแบน ขนาดประมาณ 2 ซม.
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ เป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะและวัด เนื้อไม้มีคุณภาพดีแต่ไม่แข็งแรง มีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง ยางมีพิษอาจทำให้ตาบอดได้ เมล็ดมีพิษร้ายแรงเช่นเดียวกัน
สกุล Hura L. อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Euphorbioideae เผ่า Hureae ซึ่งมีเพียงสกุลเดียว มี 2–3 ชนิด พบเฉพาะในอเมริกาเขตร้อน
| | | ชื่อสามัญ Monkeys’ dinner bell, Portia tree, Sandbox tree
| ชื่ออื่น ทองหลางฝรั่ง (กรุงเทพฯ); โพทะเล, โพฝรั่ง, โพศรี (บุรีรัมย์)
| | โพฝรั่ง: ช่อดอกเพศผู้แบบช่อหางกระรอก ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ ที่โคนช่อ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉกแผ่ออก ผลแห้งแตกเป็นซีก ๆ กลมแป้น (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|