สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



กรายดำ
วันที่ 31 มีนาคม 2559

Hopea oblongifolia Dyer

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น สูง 10–25 ม. โคนต้นมีพูพอนตื้น ๆ เปลือกเรียบ บางครั้งมีรากอากาศ กิ่งมีช่องอากาศ มีขนสั้นนุ่มกระจายตามกิ่งอ่อน หูใบ กลีบเลี้ยง และช่อดอก ใบรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่ เบี้ยวเล็กน้อย ยาว 12–24 ซม. เส้นแขนงใบข้างละ 8–10 เส้น ก้านใบยาว 2–2.5 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 1 มม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 3 มม. ขอบมีขนครุย ดอกสีชมพู มีสีขาวเป็นริ้ว กลีบรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 6 มม. ขอบมีขนครุย เกสรเพศผู้ 15 อัน รยางค์รูปเส้นด้ายยาวได้เกือบ 1 ซม. รังไข่และฐานก้านเกสรเพศเมียเรียว ยาวประมาณ 4 มม. ปีกยาว 2 ปีก ยาว 6–12 ซม. ปีกสั้น 3 ปีก ยาว 2.5–3.5 ซม. ผลรูปไข่ ยาว 2–2.3 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ตะเคียนทอง, สกุล)

พบที่พม่าตอนล่าง และภาคใต้ของไทยที่ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา และกระบี่ ขึ้นริมลำธารในป่าดิบชื้น ความสูง 50–300 เมตร มีชนิดที่คล้ายกันและขึ้นใกล้ ๆ กัน มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ซึ่งอาจเป็นชนิด H. mollissima C.Y.Wu ที่ปัจจุบันเป็นชื่อพ้องของ H. chinensis (Merr.) Hand.-Mazz.

ชื่ออื่น   กรายดำ (สุราษฎร์ธานี); หมอราน (กระบี่)

กรายดำ: โคนต้นมีพูพอนตื้น ๆ เปลือกเรียบ ใบรูปขอบขนาน เบี้ยวเล็กน้อย กลีบเลี้ยงขยายเป็นปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น 3 ปีก (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Kerala Forest Research Institute. (1985). Dipterocarp of South Asia. RAPA Monograph 1985/4. FAO Regional Office for Asia and the Pacific. Bangkok.

Pooma, R. (2002). Further note on Thai Dipterocarpaceae. Thai Forest Bulletin (Botany) 30: 9-10. (2002). Further note on Thai Dipterocarpaceae. Thai Forest Bulletin (Botany) 30: 9–10.

หมอราน
วันที่ 31 มีนาคม 2559

Hopea oblongifolia Dyer

Dipterocarpaceae

ดูที่ กรายดำ