Index to botanical names
Dipterocarpaceae
ไม้ต้น สูง 15–40 ม. กิ่งมีช่องอากาศ มีขนกระจุกรูปดาวสั้น ๆ ตามกิ่งอ่อน หูใบ ก้านใบ และช่อดอก ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาวได้ถึง 20 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดสีเงิน เส้นแขนงใบข้างละ 12–20 เส้น ก้านใบยาว 0.7–1.5 ซม. ช่อดอกยาว 5–15 ซม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาว 1–2 มม. ดอกสีเหลืองครีม กลีบรูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาว 3–4 มม. เกสรเพศผู้ 15 อัน ก้านชูอับเรณูยาวกว่าอับเรณูเล็กน้อย แกนปลายอับเรณูปลายมีรยางค์รูปเส้นด้ายยาว 2–3 เท่าของอับเรณู รังไข่และฐานก้านยอดเกสรเพศเมียรูปกรวยคอดเว้า มีขนสั้นนุ่ม ผลรูปไข่ ยาวประมาณ 8 มม. ปีกยาว 2 ปีก รูปใบพาย ยาว 5–6 ซม. ปีกสั้น 3 ปีก รูปไข่ ยาว 3–5 มม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ตะเคียนทอง, สกุล)พบที่หมู่เกาะอันดามันของอินเดีย พม่า กัมพูชา และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบกระจายห่าง ๆ แทบทุกภาค ยกเว้นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 400 เมตร
ชื่อพ้อง Vatica helferi Dyer
ชื่ออื่น กระบกกรัง (ภาคกลาง); กระบากดำ (ตรัง); ตะเคียนขี้ไก่ (พังงา); ตะเคียนหนู, ใบหลังขาว (ตรัง, สงขลา); ปราง (กำพงเพชร); พนองแดง, พนองหิน (ภาคตะวันออกเฉียงใต้); หงอนไก่ (ตรัง, สุราษฎร์ธานี)
กระบกกรัง: กลีบเลี้ยงขยายเป็นปีกยาว 2 ปีก รูปใบพาย ปีกสั้น 3 ปีก (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)
Smitinand, T., J.E. Vidal and P.H. Hô. (1990). Dipterocarpaceae. In Flora of Cambodia, Laos and Vietnam 25: 65.