สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



ปอต่อม
วันที่ 29 ธันวาคม 2559

Hibiscus glanduliferus Craib

Malvaceae

ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 3 ม. มีขนสั้นนุ่มและขนรูปดาวตามกิ่ง ก้านใบ และก้านดอก หูใบรูปขอบขนาน ยาวได้ถึง 1.5 ซม. ใบรูปรีหรือรูปไข่กว้างเกือบกลม ไม่จักเป็นพู ยาวได้ถึง 15 ซม. โคนเว้าลึก ขอบจักฟันเลื่อยซ้อน โคนเส้นกลางใบมีต่อมรูปไข่ เส้นโคนใบข้างละ 2–3 เส้น ก้านใบยาว 1–5 ซม. ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ หรือเรียงชิดกันช่วงปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 1–2 ซม. ริ้วประดับ 10 อัน เชื่อมติดกัน 4–6 มม. ริ้วประดับรูปใบหอก ยาวประมาณ 1 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 ซม. กลีบรูปใบหอก ยาว 1.5–3 ซม. ดอกรูประฆังคว่ำ สีเหลือง โคนกลีบด้านในสีน้ำตาลแดง กลีบรูปไข่กลับ ยาว 6–10 ซม. เส้าเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 2 ซม. อับเรณูติดตลอดความยาว ผลยาวประมาณ 2 ซม. ด้านนอกมีขนหยาบยาวหนาแน่น (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ชบา, สกุล) และปอทะเล, สกุล)

พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยส่วนมากพบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรังที่แห้งแล้ง ความสูงถึงประมาณ 600 เมตร จากลักษณะทางสัณฐานที่หูใบมีขนาดใหญ่ ผลมีขนหนาแน่น ซึ่งจะต้องถูกจัดอยู่สกุลปอทะเล Talipariti

ปอต่อม: ใบไม่จักเป็นพู ขอบจักฟันเลื่อยซ้อน ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ริ้วประดับ 10 อัน โคนกลีบดอกด้านในมีสีน้ำตาลแดง ผลแห้งแตกเป็น 5 ซีก ด้านนอกมีขนหยาบยาวหนาแน่น (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Craib, W.G. (1910). Craib. Bulletin of Miscellaneous Information Kew 1910: 275–276.

Phuphathanaphong, L., P. Siriruksa and G. Nuvongsri. (1989). The genus Hibiscus in Thailand. Thai Forest Bullettin (Botany) 18: 54–56.