| ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 ม. ลิ้นกาบยาว 1.5–2.5 ซม. มีขน ใบรูปใบหอก ยาว 10–40 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีขนยาวประปรายตามเส้นกลางใบ ไร้ก้านหรือมีก้านสั้น ช่อดอกยาวได้ถึง 20 ซม. แต่ละใบประดับมีดอกเดียว มีขนสั้นนุ่ม ใบประดับรูปขอบขนาน ยาว 2–3 ซม. ใบประดับย่อยยาว 1–2 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงยาว 2.5–3.5 ซม. ดอกสีขาวหรืออมเหลือง หลอดกลีบดอกยาว 6–8 ซม. มักมีปื้นสีม่วงอมแดง กลีบรูปแถบ ยาว 2.5–3.5 ซม. ปลายแยก 2 แฉก กลีบปากยาวเท่า ๆ กลีบดอก หรือยาวกว่าเล็กน้อย แผ่นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปแถบ สั้นกว่ากลีบปากเล็กน้อย ก้านชูอับเรณูสั้นกว่ากลีบปาก อับเรณูยาวประมาณ 1.2 ซม. ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2.5 ซม. เยื่อหุ้มเมล็ดสีขาว
พบที่อินเดีย ภูฏาน เนปาล จีนตอนใต้ พม่า และภาคเหนือของไทยที่ดอยสุเทพ และดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ความสูง 1500–2000 เมตร บางครั้งแยกเป็น var. acuminatum (Roscoe) Wall. ที่ดอกไม่หนาแน่น
| | | | | | ตาเหิน: ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ยอด ตั้งขึ้น แต่ละใบประดับมีดอกเดียว ก้านชูอับเรณูสั้นกว่ากลีบปาก (ภาพ: ประทีป โรจนดิลก)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Larsen, K. and S.S. Larsen. (2006). Gingers of Thailand. Queen Sirikit Botanic Garden. Chiang Mai. |
| Sabu, M. (2006). Zingiberaceae and Costaceae of South India. Kerala, India. Indian Association for Angiosperm Taxonomy, Calicut University. |
| Sirirugsa, P. (1995). The genus Hedychium (Zingiberaceae) in Thailand. Nordic Journal of Botany 15(3): 301–304. |
| Wu, D. and K. Larsen. (2000). Zingiberaceae. In Flora of China Vol. 24: 370–373. |