Index to botanical names
Rhizophoraceae
ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 ม. กิ่งเรียงตรงข้าม หูใบติดระหว่างก้านใบ รูปใบหอก ยาวประมาณ 1.5 ซม. ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว 4.5–20 ซม. ปลายและโคนแหลม แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 0.5–1.5 ซม. ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ใบประดับเรียงชิดกันแน่นเป็นกระจุกกลม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 4–5 กลีบ กลีบเลี้ยงแฉกลึก กลีบรูปไข่ ยาว 1.5–2.5 มม. ดอกสีเขียวอมขาว รูปไข่กลับ ยาว 2–2.5 มม. ปลายมีรยางค์แฉกลึกคล้ายเส้นด้าย เกสรเพศผู้จำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบเลี้ยง ก้านชูอับเรณูโค้ง ยาว 1–2 มม. จานฐานดอกรูปถ้วย จักตื้น ๆ รังไข่มี 4–6 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 3–8 เม็ด ยอดเกสรเพศเมียจัก 4–8 พู รูปคล้ายกงล้อ ผลสดมีหลายเมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม. ผลแก่สีแดงพบที่พม่า ภูมิภาคมาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทางภาคใต้ที่นครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส ขึ้นตามป่าดิบชื้น ความสูง 100–200 เมตร รากและใบมีสรรพคุณช่วยเจริญอาหารสกุล Gynotroches Blume มีชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “gyne” เพศเมีย และ “trochos” เป็นวง ตามรูปร่างของยอดเกสรเพศเมีย
ชื่ออื่น คอแห้งป่า (นราธิวาส); หัวสุม, ไอ้แกรก (ตรัง)
ไอ้แกรก: ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ใบประดับเรียงชิดกันแน่นเป็นกระจุกกลม ปลายกลีบดอกมีรยางค์แฉกลึกคล้ายเส้นด้าย ผลแก่สีแดง (ภาพ: Alan Mauric, มนตรี ธนรส)
Hou, D. (1970). Rhizophoraceae. In Flora of Thailand Vol. 2(1): 14.
Madani, L. and K.M. Wong. (1995). Rhizophoraceae. In Tree Flora of Sabah and Sarawak Vol. 1: 336, 338–339.