สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ซู
วันที่ 28 เมษายน 2560

Gluta usitata (Wall.) Ding Hou

Anacardiaceae

ดูที่ รักใหญ่

ซู้
วันที่ 28 เมษายน 2560

Gluta usitata (Wall.) Ding Hou

Anacardiaceae

ดูที่ รักใหญ่

มะเรียะ
วันที่ 28 เมษายน 2560

Gluta usitata (Wall.) Ding Hou

Anacardiaceae

ดูที่ รักใหญ่

รัก
วันที่ 28 เมษายน 2560

Gluta usitata (Wall.) Ding Hou

Anacardiaceae

ดูที่ รักใหญ่



รักใหญ่
วันที่ 28 เมษายน 2560

Gluta usitata (Wall.) Ding Hou

Anacardiaceae

ไม้ต้น สูง 5–25 ม. มีขนสั้นหนานุ่มตามกิ่งอ่อน ช่อดอก กลีบเลี้ยงด้านใน และกลีบดอกทั้งสองด้าน ใบเรียงเวียน รูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 12–36 ซม. ปลายมน กลม หรือแหลม แผ่นใบหนา มีขนประปราย เส้นแขนงใบข้างละ 15–28 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันได ก้านใบยาว 1.5–3 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาวได้ถึง 35 ซม. ดอกจำนวนมาก ก้านดอกยาวได้ถึง 1 ซม. กลีบเลี้ยงคล้ายหมวกแฉกลึกด้านเดียว ยาวได้ถึง 7 มม. ร่วงเร็ว ดอกสีขาวอมชมพู มี 5–7 กลีบ รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 ซม. ขยายในผล ปลายแหลมหรือมน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดบนฐานดอก (torus) ยาวเท่า ๆ กลีบดอก รังไข่มีช่องเดียว มีก้านสั้น ๆ ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรมีขนยาว ผลผนังชั้นในแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–3 ซม. ปีกที่ขยายมาจากกลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 5–10 ซม. ปลายปีกมน มีเส้นกลีบ ก้านผลยาว 1.5–2 ซม. มีเมล็ดเดียว

พบที่อินเดีย พม่า และลาว ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าสน หรือป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร น้ำยาง เรียกว่านํ้ารักหรือยางรัก ใช้ลงพื้นหรือทาเครื่องเรือน แต่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้พองเป็นตุ่มน้ำใส เช่นเดียวกับ น้ำเกลี้ยง G. laccifera (Pierre) Ding Hou ช่อดอกสั้น ผลขนาดใหญ่กว่าแต่ปีกสั้นกว่า พบในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ยางรักผสมน้ำผึ้งมีสรรพคุณแก้โรคผิวหนังที่เกิดจากพยาธิ

สกุล Gluta L. อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Anacardioideae เผ่า Anacardieae มีประมาณ 22 ชนิด ส่วนมากพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยมี 11 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน “gluten” หรือ “glutus” หมายถึงติดแน่นหรือกาว ตามลักษณะของน้ำยาง

ชื่อพ้อง  Melanorrhoea usitata Wall.

ชื่อสามัญ  Black lacquer tree, Burmese lacquer tree, Red zebra wood, Varnish tree

ชื่ออื่น   ซู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ซู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); มะเรียะ (เขมร); รัก, รักใหญ่ (ภาคกลาง); ฮักหลวง (ภาคเหนือ)

รักใหญ่: ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ดอกจำนวนมาก เกสรเพศผู้จำนวนมากติดบนฐานดอก กลีบดอกขยายเป็นปีกในผล (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)

เอกสารอ้างอิง

Chayamarit, K. (2010). Anacardiaceae. In Flora of Thailand Vol. 10(3): 284–292.

ฮักหลวง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Gluta usitata (Wall.) Ding Hou

Anacardiaceae

ดูที่ รักใหญ่