Index to botanical names
Malvaceae
ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม. ใบเรียงเวียน รูปรีกว้าง หรือรูปหัวใจ ยาว 8–25 ซม. จัก 3 หรือ 5 พู ปลายพูแหลมยาวหรือยาวคล้ายหาง มีขนรูปดาวประปรายตามเส้นแขนงใบด้านล่าง เส้นโคนใบ 5 หรือ 7 เส้น ก้านใบยาว 5–20 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่งเหนือรอยแผลใบ ยาว 5–15 ซม. มีขนกระจุกรูปดาวละเอียดสีส้มอมแดงหนาแน่น ก้านดอกยาว 4–5 มม. ใบประดับคล้ายเกล็ด ดอกมีเพศเดียวหรือมีดอกสมบูรณ์เพศร่วมต้น กลีบเลี้ยงเป็นหลอด ยาว 1.2–2 ซม. ปลายแยก 5 แฉกตื้น ๆ ยาว 3–5 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 15 อัน เชื่อมติดกัน 5 มัด ติดที่ปลายก้านชูเกสรร่วม ที่ยาว 1–3 ซม. มีขนรูปดาวละเอียดประปราย รังไข่เกือบเกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรโค้ง ผลแตกเป็น 5 ส่วน ห้อยลง รูปขอบขนาน ยาว 5–7 ซม. เปลือกบาง มี 2–4 เมล็ดพบที่ศรีลังกา อินเดียและหมู่เกาะอันดามัน จีนตอนใต้ ภูฏาน คาบสมุทรมลายู สุมาตรา ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามเขาหินปูนความสูง 100–1400 เมตร นิยมทำเป็นไม้แคระ เปลือกมีสรรพคุณแก้โรคดีซ่านสกุล Firmiana Marsili เดิมอยู่ภายใต้วงศ์ Sterculiaceae ปัจจุบันอยู่วงศ์ย่อย Sterculioideae มีประมาณ 15 ชนิด พบเฉพาะในเอเชีย ในไทยมี 3 ชนิด ชื่อสกุลตั้งตามชาวออสเตรีย Karl Josef von Firmian (1717–1782) ผู้ให้การสนับสนุนสวนพฤกษศาสตร์ Padua ในอิตาลี
ชื่อพ้อง Sterculia colorata Roxb.
ชื่อสามัญ Bonfire tree
ชื่ออื่น กาปี (ภาคใต้); ปอขาว (เชียงใหม่, แพร่); ปอจี้ (ภาคเหนือ); ปอเจ็ด (ภาคใต้); ปอแจ้ (ภาคเหนือ); ปอตู้บ (เชียงใหม่); ปอแป, ปอแปะ (เชียงใหม่, แพร่); ปอฝ้าย (ทั่วไป); ปอม้าไห้, ปอหูช้าง (เชียงใหม่); อุโลก (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ปอฝ้าย: ปลายใบยาวคล้ายหาง ช่อดอกออกเหนือรอยแผลใบที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ผลแตก 5 ส่วน ห้อยลง เปลือกบาง (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ราชันย์ ภู่มา)
Phengklai. C. (2001). Sterculiaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 555–562.
Tang, Y., M.G. Gilbert and L.J. Dorr. (2007). Sterculiaceae. In Flora of China Vol. 12: 310, 312.