สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



กันเกรา
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Fagraea fragrans Roxb.

Gentianaceae

ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. เปลือกแตกเป็นร่อง หูใบยาว 1–2 มม. ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน แกมรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว 7–11 ซม. ปลายแหลมหรือยาวคล้ายหาง เส้นแขนงใบข้างละ 5–9 เส้น ช่อดอกแบบช่อกระจุก ยาว 4–12 ซม. ก้านช่อยาว 2–6.5 ซม. ก้านดอกยาว 3–6 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยาว 2–3 มม. ปลายกลีบกลม ดอกรูปแตร สีครีมเปลี่ยนเป็นสีเข้มก่อนร่วง หลอดกลีบดอกยาว 0.7–1.2 ซม. กลีบรูปขอบขนาน ยาว 5–8 มม. พับงอกลับ เกสรเพศผู้ 5 อัน ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูแผ่กว้าง ยาว 1.5–2 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาวได้ถึง 6 ซม. ยอดเกสรเพศเมียรูปโล่หรือจัก 2 พู ผลสดมีหลายเมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–8 มม. สุกสีเหลืองหรืออมแดง ปลายมีติ่งแหลม เมล็ดขนาดประมาณ 1 มม. เป็นเหลี่ยม

พบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย นิวกินี ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายฝั่งทะเล ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น เป็นไม้ประดับหรือไม้ข้างถนน ดอกมีกลิ่นหอม เปลือกและดอกใช้แก้พิษงู ใบแก้ไข้และโรคปวดข้อ

ชื่อสามัญ  Tembesu

ชื่ออื่น   กันเกรา (ภาคกลาง); ตะมะซู, ตำมูซู (มาเลย์-ภาคใต้); ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก); ตำเสา, ทำเสา (ภาคใต้); มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

กันเกรา: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ดอกรูปแตร ผลสด สุกสีเหลืองหรืออมแดง ปลายมีติ่งแหลม (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Griffin, O. and J. Parnell. (1997). Loganiaceae. In Flora of Thailand Vol. 6(3): 198–199.

ตะมะซู
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Fagraea fragrans Roxb.

Gentianaceae

ดูที่ กันเกรา

ตาเตรา
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Fagraea fragrans Roxb.

Gentianaceae

ดูที่ กันเกรา

ตำเสา
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Fagraea fragrans Roxb.

Gentianaceae

ดูที่ กันเกรา

ตำมูซู
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Fagraea fragrans Roxb.

Gentianaceae

ดูที่ กันเกรา

ทำเสา
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Fagraea fragrans Roxb.

Gentianaceae

ดูที่ กันเกรา

มันปลา
วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

Fagraea fragrans Roxb.

Gentianaceae

ดูที่ กันเกรา