สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



ปัดน้ำ
วันที่ 29 ธันวาคม 2559

Drosera peltata Thunb.

Droseraceae

พืชล้มลุกกินแมลง สูงได้ถึง 35 ซม. ลำต้นแตกแขนง มีหัวใต้ดิน ไม่มีหูใบ ใบแบบก้นปิด รูปสามเหลี่ยมกว้างเกือบกลม สีเหลืองอมเขียว เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–8 มม. บางส่วนลดรูปคล้ายรูปแถบขนาดเล็ก ยาวไม่เกิน 2 มม. ก้านใบยาว 2–8 มม. ใบที่โคนเรียงเป็นกระจุกรอบข้อ ขนาดใหญ่กว่าใบบนลำต้นที่เรียงเวียน มีขนต่อมเหนียว ช่อดอกแบบวงแถวเดี่ยว ออกตามปลายกิ่ง ไม่แตกแยกแขนง ยาว 2–6 ซม. ก้านดอกยาว 0.6–2 ซม. ใบประดับขนาดเล็ก รูปลิ่มแคบ กลีบเลี้ยง 5–7 กลีบ รูปไข่ ยาว 2–4 มม. เกลี้ยงหรือมีต่อมเหนียว ติดทน ดอกสีขาว ชมพู หรือแดง กลีบดอก 5–7 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 4–6 มม. เกสรเพศผู้ติดระหว่างกลีบเลี้ยง ยาว 2–4 มม. เกสรเพศเมีย 3 อัน แฉกตื้น ๆ 2–5 แฉก ผลแตกเป็น 3 ซีก รูปรีกว้างเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–4 มม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ หญ้าน้ำค้าง, สกุล)

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศรีลังกา จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ที่โล่ง โดยเฉพาะตามป่าสนเขา ความสูง 700–2100 เมตร มีสรรพคุณฆ่าเชื้อในกามโรค

ชื่อสามัญ  Pale sundew, Shield sundew

ชื่ออื่น   ปัดน้ำ (Loei); หญ้าไฟตะกาด (Trat); หยาดน้ำค้าง (Loei)

ปัดน้ำ: ใบแบบก้นปิด มีรยางค์เป็นต่อมขน ช่อดอกแบบวงแถวเดี่ยว กลีบเลี้ยงมีต่อมเหนียวกระจาย ติดทน กลีบดอกรูปไข่กลับ (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Larsen, K. (1987). Droseraceae. In Flora of Thailand Vol. 5(1): 67–69.

Lu, L. and K. Kondo. (2001). Droseraceae. In Flora of China Vol. 8: 201.

หญ้าไฟตะกาด
วันที่ 29 ธันวาคม 2559

Drosera peltata Thunb.

Droseraceae

ดูที่ ปัดน้ำ

หยาดน้ำค้าง
วันที่ 29 ธันวาคม 2559

Drosera peltata Thunb.

Droseraceae

ดูที่ ปัดน้ำ